วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคเหนือ กลุ่มสตอเบอรรี่พิ้ง


ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคเหนือ

                       มี ขันโตก     ฟ้อน(ดารารัศมี)    ซอ    บ้านกาแล  เครื่องมือดักสัตว์ 
เครื่องมือทำไร่ทำนา    ฟ้อนผี   งานแกะสลักไม้   
ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคเหนือ   มีการขับซอ(คำผาย)     
แกะสลักช้าง
(คำอ้าย)     การทำแหนม    สืบชะตาขุนน้ำ   บวชต้นไม้บวชป่า      การทำไม้ 
     การอพยพของคนไทยที่เข้ามาในภาคเหนือนั้น นอกจากจะปรับตัวให้เข้ากับ
การดำรงอยู่ของชาวไทยยวนหรือไทยโยนก ซึ่งถือว่าเป็นชนชาติกลุ่มใหญ่และชนชาติอื่นๆ
ที่อาศัยอยู่ตามพื้นที่ต่างๆแล้ว  ต้องเรียนรู้สิ่งแวดล้อมที่ประกอบด้วยเทือกเขาสูง  ที่ราบหรือ
แอ่งระหว่างเขา  โดยมีต้นน้ำลำธารไหลลงมาจากเทือกเขาลงสู่พื้นที่ราบต่ำเบื้องล่าง 
                    พื้นที่ภาคเหนือจึงเป็นแหล่งต้นน้ำใหญ่ ๔ สายคือ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง  แม่น้ำยม 
และ แม่น้ำน่าน    ต่างไหลลงไปรวมกันเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาของที่ราบกลางประเทศ    
                     นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำกกที่ไหลลงไปรวมกับแม่น้ำโขง ที่เป็นแม่น้ำใหญ่แบ่งเขตประเทศลาว
และราชอาณาจักรไทย และลำน้ำสายย่อยอีกหลายสายๆที่ไหลลงไปรวมกับแม่น้ำสาละวิน
ในเขตประเทศเมียนมาร์ ด้วยเหตุดังกล่าวนั้นพื้นที่ภาคเหนือจึงมีฝนตกตามฤดูกาลและให้น้ำแก่
แม่น้ำจำนวนมากจนพัดพาเอาปุ๋ยธรรมชาติจากป่าเขาที่อยู่บนเขาสูง   
ทำให้เกิดพื้นที่ปลูกข้าวและพืชพรรณธัญญาหารต่างๆ  ในไม่ช้าประมาณก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๘
กลุ่มไทยยวนจึงได้พากันตั้งชุมชนเมืองขึ้น
                   ในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ นั้นพระเจ้ามังราย แห่งอาณาจักรเชียงแสน ได้มีอำนาจเข้าครอบครอง
พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำกก เมืองเชียงราย ฝาง และเมืองต่างๆ ซึ่งเป็นที่ราบที่มีสายน้ำไหลลงไปรวมกับแม่น้ำโขง  
สร้างความเป็นปึกแผ่นจนสามารถขยายพื้นที่ครอบครองไปยังที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง   แม่น้ำวัง แม่น้ำยม
และแม่น้ำน่าน  ทำให้ฐานะของเมืองที่เคลื่อนย้ายนั้นได้พัฒนาตั้งเป็นเมืองที่มีหลักแหล่งถาวร
สร้างความเป็นเมืองขนาดใหญ่  เป็นศูนย์กลางของชุมชน  มีเมืองหรือหมู่บ้านตั้งอยู่กระจัดกระจาย
ตามที่ราบลุ่มระหว่างเขา
              ชุมชนทางภาคเหนือนั้นได้พัฒนาการสร้างเป็น นครรัฐ   ที่มีศูนย์กลางการปกครอง  
การค้าขาย   การศาสนาและวัฒนธรรม     ซึ่งเป็นการพัฒนาให้เกิดชุมชนเกษตรกรรมขนาดใหญ่
โดยจัดสร้างพื้นที่การทำนาโดยใช้วิธีน้ำท่วมขังหล่อเลี้ยงต้นข้าวขึ้น  แทนการทำนาทำไร่เลื่อนลอยบนที่สูง
และรู้จักการจัดการน้ำเข้าไปช่วยทำการเพาะปลูกที่เรียกว่า
"เหมืองฝายโดยกั้นน้ำที่ไหลตามธรรมชาติ
ลงสู่ที่ต่ำสามารถไหลแยกไปตามแนวลำเหมืองเข้าพื้นที่ทำนา ที่ปลูกลดหลั่นอยู่ตามแนวที่ราบสูง 
จนสามารถปรับน้ำให้สามารถไหลกระจายลงมาใช้ทำนาได้ตามสภาพพื้นที่  
นับเป็นการสร้างสังคมของเกษตรกรรมขึ้นอย่างเป็นระบบ
             สำหรับเมืองใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางความเป็นนครรัฐในภาคเหนือนั้น ตัวเมืองจะมี
กำแพงเมืองล้อมรอบเวียง      ภายในกำแพงหรือในเวียง นั้นมีคุ้มเจ้าเมือง
(คุ้มหลวง
ซึ่งอยู่ติดกับสนามชัยหรือสนามหลวง
(ข่วงซึ่งมีวัดหัวข่วงอยู่ใกล้กัน  บ้านขุนนางและคนมีฐานะ(เจ้าของที่นา)จะอยู่ในเวียงนั้น 
            ส่วนหมู่บ้านในเวียงจะมีวัดและหนองน้ำขนาดใหญ่เป็นหลักอยู่ประจำหมู่บ้าน 
มีถนนและทางเดินไปยังหมู่บ้านอื่นๆได้       หนองน้ำนี้จะรับน้ำฝนจากลำเหมืองที่ขุดเอาดินถมเป็นดอน
ป้องกันน้ำท่วม  ซึ่งสามารถใช้เป็นเหมืองระบายน้ำออกไปยังคูเมืองและสู่ลำห้วยที่ไหลออกไปสู่แม่น้ำใหญ่
  
โดยลำเหมืองนี้จะไหลผ่านหมู่บ้านที่อยู่นอกเมืองวกวนไหลผ่านทุ่งนาที่กว้างใหญ่  
นับว่าเป็นระบบชลประทานที่เกิดขึ้นสำหรับการทำนาในสมัยนั้น
                นอกเวียงนั้นก็มีหมู่บ้านขนาดใหญ่ตั้งเกาะกลุ่มอยู่บนที่ดอนจากดินขุดเหมือง
และตั้งอยู่เรียงรายตามแถบพนังของลำน้ำใหญ่ และลำห้วยหรือลำเหมือง  ซึ่งไหลผ่านทุ่งนากว้างไปยังแม่น้ำ 
ถัดจากทุ่งนาและหมู่บ้านก็เป็นป่าละเมาะ  ป่าไม้และทิวเขา  โดยมีเส้นทางเกวียนเป็นเส้นทางสัญจรไปมา
                  ดังนั้นนอกกำแพงจึงมีบ้านเรือนหนาแน่นตั้งรายล้อมกำแพงเมืองออกไป
หมู่บ้านนั้นมีผู้นำคอยดูแลชุมชนเหล่านั้น   ที่เมืองเชียงใหม่นั้นมี บ้านฮ่อม  บ้านเมืองก๋าย 
บ้านเมืองมาง บ้านเมืองสาตรเป็นต้น ตั้งล้อมอยู่รอบกำแพงเมืองเชียงใหม่
                 หมู่บ้านเหล่านี้มักสร้างขึ้นสำหรับให้เชลยศึกที่กวาดต้อนจากสงคราม
ซึ่งเป็น
ข้าปลายหอกงาช้าง”(เรียก"เก็บผักใช้ซ้า เก็บข้าใส่เมือง")ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยทำกิน
                 ถัดจากหมู่บ้านก็เป็นป่าละเมาะ  แนวป่า และเทือกเขา  ซึ่งมีเส้นทางเกวียนใช้ติดต่อถึงกัน
และหมู่บ้านต่างๆก็เกาะกลุ่มอยู่ตามเส้นทางเกวียนนี้   แต่วัดที่เป็นหลักของหมู่บ้านจะตั้งห่างออกมา
และมักมีบริเวณป่าช้าแยกออกมาจากวัด      สำหรับดงไม้ที่มีต้นไม้ใหญ่ร่มรื่นนั้น
ชาวบ้านถือว่าเป็นบริเวณศักดิ์สิทธิที่เชื่อว่า มีผีเสื้อบ้าน สถิตอยู่  จึงมีการสร้างศาลหรือหอผีให้เป็น
คอยเฝ้าคุ้มครองหมู่บ้านและไร่นาของชาวบ้านหมู่นั้น
                ต่อมาเมื่อพุทธศาสนาเข้าไปมีบทบาทในการดำรงชีวิตตามหลักพุทธธรรมแล้ว
การสร้างวัดเพื่อเป็นแหล่งความรู้ทางธรรม   แนะนำการดำรงชีพร่วมกับธรรมชาติโดยอาศัยหลักธรรม
เป็นแนวทางปฏิบัติ ให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขนั้น    ทำให้มีการสร้างวัดเป็นหลักของหมู่บ้านทุกแห่ง
                พื้นที่ดอนสูงและที่ลาดเชิงเขาในภาคเหนือนั้น เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสำหรับการทำนา 
ชาวบ้านจึงทิ้งให้เป็น
"ป่าละเมาะ"หรือ"ป่าแพะ"ตามธรรมชาติ เพื่อใช้ป่านี้เป็นแหล่งทรัพยากร
ที่มีค่าและอำนวยประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต  เช่นการหาฟืนเพื่อใช้หุงต้ม  หาไม้สร้างบ้าน 
หาสมุนไพรรักษาโรคภัยไข้เจ็บ  รวมทั้งพืชผักที่เป็นอาหารและเนื้อสัตว์  
โดยเฉพาะต้นไม้ที่สร้างความชุ่มชื่นให้แผ่นดิน  จึงเป็นป่าไม้เศรษฐกิจที่สำคัญต่อการดำรงชีพ
ขั้นพื้นฐานของชุมชนในป่า
              ในป่าแพะนั้นมีต้นไม้ตึงหรือไม้พลวง  หลังจากฤดูทำนาแล้วชาวบ้านจะอาศัยป่าแพะ
เข้าไปเก็บใบตึงแก่ เพื่อนำมาเย็บเป็นตับสำหรับซ่อมแซมหลังคาบ้าน  ในต้นฤดูฝนป่าแพะ
จะอุดมด้วยยอดอ่อนของใบไม้ เห็ดเผาะ
(เห็ดถอบ)  เห็ดลม หน่อไม้ไร่ แมงมัน ผัดยอดหวาน
เป็นต้นสำหรับเป็นอาหาร
               ส่วนป่าที่มีต้นไม้ใหญ่  เช่นต้นยางนั้นจะมีผึ้งหลวงจำนวนมาก มีดอกไม่ป่าบานสะพรั่ง 
ยางไม้   ถือเป็น ป่าขุนน้ำ คือป่าขนาดใหญ่ที่เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร  อำนวยความชุมชื่นและ
ความอุดมสมบูรณ์ให้กับหมู่บ้าน  จึงทำให้มีการรักษาป่าขุนน้ำไว้
             เนื่องจากพื้นที่ภาคเหนืออุดมสมบูรณ์ด้วยป่าขุนน้ำ  และแหล่งต้นน้ำลำธาร 
อาชีพเที่ยวป่าเพื่อเก็บหาของป่าหรือล่าสัตว์เป็นอาหาร จึงเกิดขึ้นเสมอ
ในระยะแรกๆที่เกิดชุมชนใหม่ขึ้นในป่า หรือเกิดหมู่บ้านอยู่ติดกับป่าที่ถือว่าเป็น
แหล่งอาหารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ดังนั้นชาวบ้านจึงมีความเคารพต่อป่า
โดยแปรประโยชน์ที่จะได้จากป่าให้เป็นพิธีอธิษฐานให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คอยคุ้มครองป่าตลอดถึงห้วยหนอง
คลองบึง   มีการประกอบพิธีกรรม  บวงสรวงบูชาในฐานะ เจ้าขุนน้ำ เจ้าป่า และเจ้าเขา 
ทำให้เกิดความเชื่อเป็นประเพณีว่า  ก่อนที่จะเข้าป่าทุกครั้งชาวบ้านต้องแสดงคารวะด้วยการเซ่นไหว้เจ้าขุนน้ำ
เจ้าป่าและเจ้าเขา    พร้อมที่จะเข้าใจกฏเกณฑ์การหาของป่ามากขึ้นด้วย
               ดังนั้นเมื่อมีการตัดไม้ทำลายป่าและทำลายแหล่งต้นน้ำลำธารเกิดขึ้น
หมู่บ้านที่เคยอาศัยป่าเป็นแหล่งอาหารนั้น ย่อมเห็นคุณค่าของป่าและแหล่งน้ำมากกว่า 
แม้จะมีความคิดรักษาสภาพของป่าและดูแลแหล่งแม่น้ำลำธารให้มีสภาพเป็นแหล่งอาหาร
ทางธรรมชาติเหมือนเดิม
               ภูมิปัญญาในการจัดการเรียนรู้อย่างเข้าใจและสร้างการทำงานเพื่อให้ได้ผลสำเร็จ
ตามที่ต้องการนั้น   หากไม่มีภูมิปัญญาเข้าไปให้ความรู้   ด้วยการคิดผสมผสานวิธีการไปสู่ความสำเร็จ
และ ความร่วมมืออย่างแพร่หลาย มีกลุ่มทำงานตามองค์ความรู้นั้นๆแล้ว    
ปัญหาที่เกิดขึ้นก็จะเพิ่มขึ้นและหารูปแบบที่นำไปสู่ความสำเร็จได้ยาก  ดังตัวอย่าง  เช่น
พระครูพิทักษ์นันทคุณ จังหวัดน่าน ภูมิปัญญาที่ชี้ให้เห็นผลของการตัดไม้ทำลายป่า
และเริ่มปลูกป่าสำหรับชุมชนขึ้นท่ามกลางการประกาศเขตป่าสงวน
ชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ของมนุษย์กับป่าชุมชน  สร้างกลุ่มฮักเมืองน่านสร้างกิจกรรมรักแม่น้ำน่าน
และอนุรักษ์พันธ์ปลาอย่างแพร่หลาย โดยการบวชต้นไม้ และการสืบชะตาแม่น้ำ 
เป็นภูมิปัญญาที่สร้างความรักแผ่นดินให้เกิดขึ้นในหัวใจด้วยพุทธธรรม

โคมลอย 


ประวัติโคมลอยโคมลอย หรือบางท้องถิ่นเรียกว่า ว่าวหรือ โกม ยังแยกเป็นว่าวลม คือ ใช้ปล่อยในเวลากลางวัน และว่าวไฟใช้ปล่อยเวลากลางคืนโคมลอยมีลักษณะคล้ายลูกบอลลูน วัตถุประสงค์
ในการปล่อยโคมลอยโดยทั่วไปแล้วชาวบ้านจะมีความเชื่อกันคือ
1. เพื่อทำเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชาสังฆบูชา
2. เพื่อให้โคมนั้นช่วยนำเอาเคราะห์ร้าย ภัยพิบัติต่างๆ ให้หายไปจากหมู่บ้าน
3. เพื่อความสนุกสนานรื่นเริงในเทศกาลต่างๆ
วิธีทำ
การทำโคมลอยนั้นในแต่ละหมู่บ้านก็จะมีคนที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทำ การทำโคมจะ
ร่วมกันทั้งหมู่บ้าน เมื่อรู้ข่าวว่าจะมีการปล่อยโคม ก็จะประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ชาวบ้าน ต่างก็จะเอากระดาษที่เรียกกันว่า กระดาษว่าว มีสีต่างๆ กันหลายสีมารวมกันที่วัด ช่วยกันทำ โดยจะมีเจ้าตำรับหรือชาวบ้านจะเรียกว่า “เจ้าต่ำฮา” ได้กล่าวไว้ว่า จะใช้กระดาษเนื้อบาง ติดประกอบกันเป็นรูปทรงต่าง ๆ ส่วนใหญ่ทำเป็นลักษณะของถุงลมก้นใหญ่ วงปากแคบ กระดาษที่ใช้ทำนั้น จะใช้กระดาษสีเดียวหรือหลาย สี ก็ได้ แล้วแต่ความพอใจ ในสมัยก่อนนิยมมาช่วยกันทำที่วัด เพราะต้องใช้ สถานที่ทำเป็นลานกว้าง (เจ้าตำรา) เป็นคนคอยควบคุมดูแลให้เป็นไปตามตำรา ต่างก็ช่วยกันคนละไม้คนละมือจนเสร็จ
วิธีปล่อย
เมื่อทำเสร็จแล้วก็ต้องรอฤกษ์ในการปล่อย จนกระทั่งได้เวลาเหมาะแล้วก็จะช่วยกัน บ้างก็ถือไม้ค้ำยันไว้ เพื่อให้โคมลอยทรงตัวได้ อีกพวกหนึ่งก็เอาเชื้อเพลิงซึ่งจะใช้ผ้าชุบน้ำมันยางเผาหรือใช้ชัน ซึ่งเรียกกันว่า ขี้ขะย้า เผาเพื่อให้เกิดควัน นอกนั้นอยู่รอบๆ โดยเฉพาะพวกเด็กๆ จะมาห้อมล้อมดูด้วยความสนใจ บางทีก็จะมีกองเชียร์คือ กลองซิ่งม่องตีกันอย่างสนุกสนาน เมื่ออัดควันเข้าเต็มที่แล้วก็จะปล่อยขึ้นไปก็จะมีเสียงประทัดดังสนั่นหวั่นไหว กลองเชียร์ก็เร่งเร้าทำนองกลองให้ตื่นเต้นเร้าใจ
การปล่อยว่าวหรือโคมลอยนี้ ชาวบ้านมีความเชื่อกันว่า เพื่อให้ว่าวได้นำเอาเคราะห์ร้ายภัยพิบัติต่าง ๆ ออกไปจากหมู่บ้าน ดังนั้นว่าวหรือโคมลอยที่ปล่อยขึ้นไป ถ้าไปตกในบ้านใครบ้านนั้นต้องจะทำพิธีสะเดาะเคราะห์เพื่อล้างเสนียด จัญไรทั้งปวงออกไป นอกจากนี้ ยังถือกันว่าเป็นการทำเพื่อบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และเพื่อความสนุกสนาน สร้างความสามัคคีในหมู่บ้านอีกด้วยในปัจจุบันนี้ ก็ได้เริ่มนำเอาโคมลอยมาปล่อยในประเพณีสำคัญ ๆ เช่น งานล่องสะเปา วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา งานลอยกระทง และงานที่เป็นสิริมงคลและอวมงคล
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://school.obec.go.th/phifo/data/t8.htm
http://www.ms4lp.ac.th/phoompanya/balloon.htm

เครื่องจักสานภาคเหนือ
  
 ภาคเหนือเป็นภูมิภาคที่มีทรัพยากรป่าไม้อุดมสมบูรณ์ ที่สำคัญคือไม้ไผ่ชนิดต่าง ๆ เช่น 
ไม้รวก ไม้ซาง ซึ่งชาวเหนือได้นำมาทำเป็นเครื่องจักสานรูปแบบต่าง ๆ เช่น
  
แอ่ว เป็นภาชนะเครื่องจักสานที่มีขนาดใหญ่ เกษตรกรในสมัยก่อนใช้สำหรับรองรับการฟาดข้าว 
 และบรรจุข้าวเปลือกที่ฟาดได้ ก่อนที่จะนำไปเก็บที่ยุ้งฉาง 

 
กระด้งเป็นภาชนะเครื่องจักสานที่ใช้สำหรับฝัดข้าว สานเป็นภาชนะรูปแบบกลมมีขอบปากทำด้วยไม้ไผ่
 กระด้งยังใช้งานอื่น ๆ ได้หลายประการ เช่น ฝัดแยกเม็ดทราย ข้าวเปลือก ดอกหญ้า 
 ออกจากข้าวสาร ใช้ใส่อาหารเช่นผักผลไม้ ใช้เป็นภาชนะวางอาหารสำหรับตากหรือผึ่งแดด 
 เช่น ปลา เป็นต้น
ก่องข้าว โดยทั่วไปสานด้วยไม้ไผ่ มีขนาดเล็กใหญ่ต่าง ๆ กัน สำหรับใส่ข้าวเหนียว
 
 
แอบข้าว เป็นภาชนะใส่ข้าวเหนียวเช่นเดียวกันแต่มีขนาดเล็กกว่าสำหรับพกพาเวลาไปทำงานนอกบ้าน 
 
 
 ทั้งก่องข้าวและแอบข้าวสามารถเก็บข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วไว้ได้เป็นเวลานาน โดยที่ข้าวเหนียว 
ไม่แฉะ ไม่แห้งและมีความนิ่มนวลน่ารับประทาน 
ภาคเหนือมีเครื่องจักสานที่ใช้ในชีวิตประจำวันมากมาย อาจแบ่งตามวัสดุที่นำมาสานได้ ดังนี้ 

 
ไม้ไผ่เป็นวัสดุที่นิยมใช้จักสานกันมากที่สุด ได้แก่ ซ้า หวด ก่องข้าว แอบข้าว โตก ฝาชี แอบหมาก 
 
หมวก บุง สุ่ม ข้อง ฯลฯ



 โตก..............  ฝาชี...........  ข้อง
 
หวายนิยมนำมาทำเครื่องเรือน
 ชุดรับแขกทำด้วยหวาย.     เตียงนอนทำด้วยหวาย


การแสดง"พื้นเมือง " ภาคเหนือ 
"

           การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ เป็นศิลปะการรำ และการละเล่น ที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า “ฟ้อน” มีลักษณะการแสดงลีลาท่ารำที่แช่มช้า อ่อนช้อย นุ่มนวล และสวยงาม แต่การแสดงบางชุดได้รับอิทธิพลจากศิลปะของพม่า เช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนมาลัย ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา ฟ้อนไต ฟ้อนกิงกะหร่า ฟ้อนโต ฟ้อนดาบ ฟ้อนเจิง ฟ้อนบายศรี ตีกลองสะบัดชัย ฟ้อนสาวไหม ฟ้อนโยคีถวายไฟ การแต่งกายแบบพื้นบ้านภาคเหนือ ดนตรีที่ใช้คือ วงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงสะล้อ ซอ ซึง วงปูเจ่ วงกลองแอว
การละเล่นพื้นเมืองภาคเหนือ

        ในภาคเหนือ ภูมิประเทศเป็นป่าเขา ต้นน้ำลำธาร อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ การทำมาหากินสะดวกสบาย ชาวเหนือจึงมีนิสัยอ่อนโยน ยิ้มแย้มแจ่มใส มีน้ำใจไมตรี การแสดงพื้นเมืองจึงมีลีลาอ่อนช้อย งดงามและอ่อนหวาน
การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ เรียกกันว่า ฟ้อน มีผู้แสดงเป็นชุดเป็นหมู่ ร่ายรำท่าเหมือนกัน แต่งกายเหมือนกัน มีการแปรแถวแปรขบวนต่าง ๆ

ลักษณะของการแสดงพื้นเมือง ได้แก่

     -   ลีลาการเคลื่อนไหว  เป็นไปตามเอกลักษณ์ของแต่ละภาค
     -   เครื่องแต่งกาย  เป็นลักษณะพื้นเมืองของภาคนั้น ๆ
     -   เครื่องดนตรี  เป็นของท้องถิ่น ได้แก่ ปี่แน กลองตะโล้ดโป๊ด ฉาบใหญ่ ฆ้องโหม่ง ฆ้องหุ่ย
     -   เพลงบรรเลงและเพลงร้อง เป็นทำนองและสำเนียงท้อง
 
ฟ้อนเล็บ ( การแสดงพื้นเมือง ภาคเหนือ )
การแต่งกายของแม่ญิงล้านนา


          การแต่งกายเป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่ง ที่บ่งบอกเอกลักษณ์ของคนแต่ละพื้นถิ่น สำหรับในเขตภาคเหนือหรือดินแดนล้านนาในอดีต ปัจจุบันการแต่งกายแบบพื้นเมืองได้รับความสนใจมากขึ้น แต่เนื่องจากในท้องถิ่นนี้มีผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ เช่น ไทยวน ไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่ และอิทธิพลจากละครโทรทัศน์ ทำให้การแต่งกายแบบพื้นเมืองมีความสับสนเกิดขึ้น ดังนั้นคณะทำงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ จึงได้ระบุข้อไม่ควรกระทำในการแต่งกายชุดพื้นเมือง ของ “แม่ญิงล้านนา” เอาไว้ว่า
          1.ไม่ควรใช้ผ้าโพกศีรษะ ในกรณีที่ไม่ใช่ชุดแบบไทลื้อ
          2. ไม่ควรเสียบดอกไม้ไหวจนเต็มศีรษะ
          3. ไม่ควรใช้ผ้าพาดบ่าลากหางยาว หรือคาดเข็มขัดทับ และผ้าพาดที่ประยุกต์มาจาก ผ้าตีนซิ่นและผ้า “ตุง” ไม่ควรนำมาพาด
          4. ตัวซิ่นลายทางตั้งเป็นซิ่นแบบลาว ไม่ควรนำมาต่อกับตีนจกไทยวน
          ดังนั้น จึงอาจสรุปลักษณะการแต่งกายของแม่ญิงล้านนาอย่างคร่าวๆได้ ดังนี้
การเกล้าผมและเครื่องประดับศีรษะ
          1. การเกล้าผม  การเกล้ามวยผมของหญิงชาวล้านนามีหลายแบบ เช่น เจ้านายไทเขินจะเกล้ามวยไว้กลางหัว ไทใหญ่มวยอยู่ กลางหัวแต่จะเอียงมาทางซ้าย เพื่อให้ปลายผมทิ้งชายยาวห้อยลงมา ส่วนการเกล้าผมอย่างคนไทยวน มีชื่อเรียกขานต่างๆ กัน ดังนี้
          ‘เกล้าวิดว้อง’ เป็นการเกล้าผมทรงสูงแล้วดึงปอยผมขึ้นมาเป็นว้องหรือเป็นห่วงอยู่กลางมวย
           ‘เกล้าผมบ่มจ๊อง หรือ ผมอั่วจ๊อง’ คือ การเอาผมปลอมปอยหนึ่ง (จ๊อง-ช้อง) ใส่เข้าไปในมวยผมเพื่อให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
          ‘เกล้าผมแบบอี่ปุ่น หรือ เกล้าแบบสตรีญี่ปุ่น’ เป็นทรงผมที่นิยมมากในสมัย พระราชชายาเจ้าดารารัศมี

          2. เครื่องประดับศีรษะและการตกแต่งมวยผม  ‘ปิ่นปักผม’ ชาวยองเรียกปิ่นว่า หมาดโห ส่วนลาวล้านช้างเรียกว่า หมั้นเกล้า การใช้ปิ่นปักผมมีประโยชน์ทั้งใช้เพื่อขัดผมให้อยู่ทรง หรือใช้เป็นเครื่องประดับเพื่อเพิ่มความสวยงามให้มวยผม วัสดุที่นำมาทำปิ่นก็มีแตกต่างกันไป เช่น ปิ่นเงิน ปิ่นทองคำ ปิ่นทองเหลือง ปิ่นที่ทำจากเขา-กระดูกสัตว์
           ลักษณะของปิ่นปักผม มีหลายรูปแบบต่างกันออกไป เช่น ปิ่นทองเหลืองลักษณะโบราณที่แม่แจ่ม ทำเป็นช่อชั้นคล้ายเจดีย์ ซึ่งปิ่นโบราณที่พบในล้านนาก็มีลักษณะเช่นเดียวกันนี้ ส่วนยอดปิ่นอาจประดับด้วยอัญมณีอย่างทับทิมหรือหินสีก็ได้ นอกจากนี้ยัง มีปิ่นที่ทำเป็นรูปร่ม ได้แก่ ปิ่นจ้องของชาวไทลื้อ หรือไทเขินในเชียงตุง
          ‘ดอกไม้ไหว’ เมื่อยามจะไปวัดทำบุญหญิงชาวล้านนามักจะเหน็บดอก ไม้ไว้ที่มวยผม ดังมีคำกล่าวว่า ‘เหน็บดอกไม้เพื่อบูชาหัว และเพื่อก้มหัวบูชาพระเจ้า’ โดยดอกไม้ส่วนใหญ่ที่นำมาประดับเวลาไปวัดนั้น มักเป็นดอกไม้หอมสีสุภาพ เช่น ดอกเก็ดถะหวา (ดอกพุดซ้อน) ดอกจำปา-จำปี เป็นต้น ส่วนดอกไม้ที่นำมาประดับเพื่อเพิ่มความสวยงามนั้น มักนิยมใช้ดอกเอื้องผึ้ง ซึ่งต่อมาได้มีการ ประดิษฐ์ดอกเอื้องด้วยทองคำ เงิน ทองเหลือง เรียกว่า เอื้องเงินเอื้องคำ นอกจากนั้นก็ยังมีดอกเอื้องที่ทำจากกระดาษอีกด้วย

          ‘หวีสับ’ หวีสับที่นำมาประดับผมมีทั้งหวีงา หวีทอง หวีเงิน หวีเขาสัตว์ หรือปัจจุบันมักเห็นเป็นหวีพลาสติก ซึ่งพบได้มากในหญิง ชาวไทลื้อสิบสองพันนา ที่มักจะใช้หวีสับสีสันสดใสเป็นเครื่องประดับมวยผม ส่วนหวีที่ทำจากทองคำ เงิน หรือ หวีที่ทำจากงาช้าง มักจะเป็นหวีของชาวไทใหญ่
           ‘โพกหัว เคียนผ้า’ มักพบการโพกหัวในชีวิตประจำวันของ คนเฒ่าคนแก่ชาวยองในลำพูน หรือชาวไทลื้อในสิบสองพันนา ที่ต่างก็โพกผ้าขาวเป็นปกติเวลาไปวัดเพื่อความเรียบร้อย อีกทั้งยังช่วยกันแดดและกันฝุ่นผงที่จะมาเกาะผมที่ชโลมน้ำมันมะพร้าวไว้
          นอกจากนั้นการโพกผ้ายังสามารถเป็นตัวบ่งชี้สถานภาพของผู้หญิงอีกด้วย เช่น หญิงไทลื้อในเมืองอู ถ้ายังไม่ออกเรือนจะ โพกหัวด้วยผ้าสีชมพู แต่ถ้าออกเรือนแล้ว จะโพกผ้าสีอะไรก็ได้
เครื่องประดับร่างกาย
          1. ตุ้มหู การเจาะหูนั้นภาษาล้านนา เรียกว่า บ่องหู ชาวไทใหญ่ เรียกว่า ปี่หู ส่วนตุ้มหูของชาวไทยวนมีลักษณะต่างๆ กันไป เช่น
          ‘ด็อกหู’ ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจเป็นคำๆ เดียวกับ ‘ดอกหู’ ซึ่งอาจหมายถึงการเอาดอกไม้มาเสียบไว้ที่ติ่งหูก็เป็นได้ จะมีลักษณะ เป็นตุ่มกลมๆ
          ‘ลานหู’ มีลักษณะเป็นแผ่นใบลาน แผ่นเงิน หรือทองคำ นำมาม้วนแล้วใส่เข้าไป เพื่อให้รูที่เจาะไว้ขยายกว้างออก เรียกว่า ‘ควากหู’
          นอกจากนั้นยังมีคำต่างๆ ที่ใช้เรียกตุ้มหูอีกหลายคำ เช่น ท่อต๊าง ท่อต๊างลานหู หน้าต้าง หละกั๊ด เป็นต้น

          2. สร้อย
          ‘สร้อยคอ’ หรือที่ภาษาเหนือเรียกว่า ‘สายคอ’ แต่เดิมการใส่สร้อยคอของหญิงล้านนาอาจจะไม่เป็นที่นิยมนัก เนื่องจากพิจารณา ดูจากภาพจิตรกรรมฝาผนังตามวัดต่างๆ ไม่ปรากฏว่ามีรูปผู้หญิงใส่สร้อยคอ แต่จะมีการใส่สร้อยสังวาลปรากฏอยู่แทน ดังนั้นการ ใส่สร้อยคอน่าจะเพิ่งได้รับความนิยมในสมัยหลังมานี้
          ‘จี้คอกับสร้อยอุบะ’ จี้คอเป็นเครื่องประดับที่ใช้คู่กับสร้อยคอ โดยมีรูปแบบแตกต่างกันไปตามความชอบของแต่ละคน ส่วนสร้อยอุบะจะมีลักษณะกลมกลืนกันระหว่างส่วนที่เป็นสร้อยกับอุบะ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากภาคกลาง
          ‘ล็อกเกต เข็มกลัด’ ล็อกเกตจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับ ‘จี้’ แต่จะเปิดออกได้ โดยข้างในมักนิยมใส่รูปบุคคลที่มีความสำคัญ ต่อเจ้าของ แต่บางครั้งล็อกเกตนี้ก็สามารถดัดแปลงเป็นเข็มกลัดได้ด้วย
          ‘สร้อยสังวาล’ ผู้รู้ทางด้านการแต่งกายแบบล้านนาได้กล่าวไว้ว่า สร้อยสังวาลนี้น่าจะเป็นเครื่องทรงของเจ้านายฝ่ายหญิง มากกว่าจะเป็นของหญิงสามัญชน จำนวนเส้นของสร้อยสังวาลยังบอกถึงฐานะทางสังคมอีกด้วย แต่โดยปกติจะใส่พาดทับผ้าสไบเพียง เส้นเดียว

          3. กระดุม  ภาษาพื้นเมืองเรียก ‘บ่าต่อม’ น่าจะใช้กันอย่างแพร่หลายในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ เพราะเมื่อสังเกตจากภาพจิตร กรรมฝาผนังในล้านนา ก็จะเห็นแต่ผู้ชายที่ใส่เสื้อแบบฝรั่งเท่านั้นที่ติดกระดุม กระดุมมีหลายประเภทและใช้วัสดุแตกต่างกันไป เช่น ลักษณะกระดุมที่เป็นเชือกถักขอดเป็นปม น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากจีน ส่วนเสื้อของไทใหญ่ไทลื้อจะเป็นกระดุมห่วงที่สามารถถอดไป ใช้กับเสื้อตัวอื่นได้ โดยกระดุมเหล่านี้มีทั้งทำมาจากทองคำ นาก เงิน อัญมณี แก้ว เป็นต้น
          4. เข็มขัด  ภาษาล้านนาเรียกว่า ‘สายฮั้งปอบแอว’ ส่วนชาวจังหวัดน่านเรียกว่า ‘แบ้ว’ สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำว่า ‘BELT’ ส่วนชาวลำปางเรียกว่า ‘ต้าย’ เป็นทั้งเครื่องใช้และของประดับ ควบคู่ไปกับผ้าซิ่นและเตี่ยวสะดอ แต่ถ้าสังเกตจากภาพ จิตรกรรมฝาผนัง ภาพของทั้งบุรุษและสตรีล้วนแต่ไม่ใช้เข็มขัด แต่จะใช้วิธีทบและขมวดปมผ้าซิ่นหรือกางเกงแทน

          5. กำไล  ภาษาล้านนาเรียกกำไลว่า ‘ขอแขน ว้องแขน ขะแป่ง’ ชาวไทลื้อเชียงคำ เรียกกำไลว่า ‘กอกไม้’ ส่วนชาวไทใหญ่ เรียกว่า ‘แหวนมือ’ โดยลักษณะของกำไลนั้นมีหลายแบบ เช่น กำไลวง คือ กำไลที่มีลักษณะเป็นวงกลมธรรมดา กำไลเกลียว มีลักษณะเป็นเกลียวเดียวหรือหลายเกลียวเรียงกัน ส่วนกำไลข้อเท้า จะเรียกว่า ‘ขอแฅ่ง หรือ ว้องแฅ่ง’
          6. แหวน  ภาษาไทลื้อเรียกว่า ‘จอบมือ’ ภาษาไทใหญ่เรียกว่า ‘มงกวย’ ทางภาคเหนือมีแหวนช่อ (จ้อ) ลักษณะเป็นช่อเป็นชั้น ความสำคัญของแหวนล้านนา น่าจะอยู่ที่หัวแหวนเป็นสำคัญ คือ แก้วหรืออัญมณีที่ใช้ประดับแหวน แก้ววิเศษที่ถือว่าเป็นของมงคล ในการนำมาทำเป็นหัวแหวน เช่น แก้ววิทูรย์ แก้วผักตบ แก้วบัวรกต แก้วมหานิลไชยโชค แก้วมหานิลซายคำ เป็นต้น
ผ้าซิ่น
          ผ้าซิ่นที่แม่ญิงชาวล้านนานิยมนุ่ง มีแบบที่ตัดสำเร็จ และแบบที่เป็นผืน เรียก ‘ซิ่นต่วง’ หรือ ‘ซิ่นบ้วง’ ปัญหาของการนุ่งซิ่น คือ การนุ่งซิ่นกลับหัว มักจะเกิดกับซิ่นลาว ซิ่นไทลื้อ เพราะ ซิ่นลาวมักมีลวดลายซับซ้อน ส่วนซิ่นไทลื้อจะมีผ้าสีห้อมเป็นเชิง ในส่วนที่ เป็นลายจะพาดอยู่ตรงสะโพก
          ซิ่นตีนจกแม่แจ่ม  เมืองแม่แจ่มได้รับการกล่าวถึงความประณีตในศิลปะแห่งการทอผ้าซิ่นตีนจก ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผ้าซิ่นที่เป็นของเก่าจะมีลวดลายแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นที่นิยมของผู้ที่สนใจซื้อหาไปสะสม เมื่อซิ่นแม่แจ่มเริ่มมีชื่อเสียง การทอผ้าซิ่น แบบใหม่จึงได้เริ่มขึ้น แต่เนื่องจากลวดลายแบบเก่านั้นทำยาก ซิ่นแม่แจ่มในปัจจุบันจึงเป็นลวดลายแบบใหม่ ผ้าฝ้ายที่ใช้ก็มัก เป็นผ้าฝ้ายเกลียวจากโรงงาน มากกว่าที่จะใช้ผ้าฝ้ายจากธรรมชาติ

          ซิ่นก่านซิ่นต๋า  ซิ่นต๋า ซิ่นก่าน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ซิ่นต่อตีนต่อแอว (แอว-เอว) “ต๋า” คือ ลายเส้นพาดขวางกับลำตัว “ก่าน” คือ ลายพาด “ต่อตีนต่อแอว” คือ การเอาผ้าซิ่นอีกชิ้นต่อตรงหัวซิ่น และอีกชิ้นหนึ่งต่อเป็นตีนซิ่น ดังนั้น ซิ่น 1 ผืน จึงประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ หัวซิ่น ตัวซิ่น และตีนซิ่น ในส่วนที่เป็น “ต๋า หรือ ก่าน” จะมีชื่อเรียกเฉพาะที่ต่างกันออกไป เช่น
          ซิ่นต๋าผุด คือ ซิ่นที่มีลวดลายในตัวแต่มองเห็นได้ไม่ชัดนัก
          ต๋าแลว คือ ลวดลายที่มีเส้นพาดเส้นเดียว
          สองแลว คือ ลวดลายที่มีเส้นพาด 2 เส้น เป็นต้น
          ซิ่นก่านซิ่นต๋า หรือ ซิ่นต่อตีนต่อแอวนี้ เป็นซิ่นแบบโบราณของชาวไทยวน ที่พบเห็นได้ทั่วไป ปัจจุบันมักพบเป็น “ซิ่นก่าน ทอลวด” คือ เป็นซิ่นที่ทอทั้ง 3 ส่วน ติดต่อกันเป็นผืนเดียว
          ซิ่นไหมสันกำแพง เส้นไหมของสันกำแพงเป็นไหมที่เส้นเล็ก อ่อนพลิ้ว เงางาม ซิ่นต๋าหรือซิ่นก่านไหม มีแหล่งผลิตหลักอยู่ที่ สันกำแพง แต่ในส่วนลายพาดขวางที่เรียกว่า สองแลว สามแลว นั้น ทางสันกำแพงได้สร้างเอกลักษณ์เฉพาะตนขึ้นมาใหม่ โดยขยาย แถบให้กว้างขึ้น แล้วไล่ระดับเล็กใหญ่เรียงกันไป และค่อนข้างมีสีสันฉูดฉาด เช่น สีบานเย็น เหลือง เขียว ม่วง เป็นต้น
          ซิ่นน้ำถ้วม เป็นซิ่นของกลุ่มไทยวนในเชียงใหม่กลุ่มหนึ่ง มีแหล่งกำเนิดอยู่บริเวณทะเลสาบดอยเต่า ในอดีตบริเวณนี้ เป็นชุมชนโบราณ มีความเจริญรุ่งเรืองในทุกๆ ด้าน แต่ประวัติศาสตร์ทั้งมวล รวมทั้งศิลปะการทอผ้า ได้ล่มสลายลงไปอยู่ใต้น้ำ เมื่อมีการสร้างเขื่อนภูมิพล ดังนั้นผ้าซิ่นของชาวบ้านกลุ่มนี้ จึงได้ชื่อว่า ‘ซิ่นน้ำถ้วม’
          ซิ่นน้ำถ้วมนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตน ตัวซิ่นประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ ตีนจก ตัวซิ่น และหัวซิ่น ซิ่นแบบเก่ามักทอลายห่าง ซึ่งเป็นแบบอย่างของตีนจกโบราณของทุกพื้นที่ ก่อนจะเพิ่มลายเพิ่มฝ้ายให้หนาขึ้นในภายหลัง และจากการอพยพย้ายถิ่นฐาน การเปลี่ยนวิถีชีวิตในการดำรงชีพของชาวบ้านกลุ่มนี้ ซิ่นน้ำถ้วมในปัจจุบัน อาจจะขาดคนสืบต่อการทอซิ่นชนิดนี้ไปแล้ว
          ซิ่นไหมยกดอกลำพูน ซิ่นไหมยกดอกลำพูนมิใช่เป็นซิ่นที่มีมาแต่เดิม ผ้าไหมยกดอกเป็นผ้าไหมที่มีราคาสูง ทอขึ้นสำหรับเจ้า นายหรือตัดเป็นชุดเจ้าสาว จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ทำให้ทราบว่า พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ทรงสนับสนุนให้มีการทอผ้า ไหมยกดอกขึ้น ส่วนลวดลายนั้นได้รับอิทธิพลมาจากผ้าทอทางภาคกลาง ประสานกับลายผ้าทอทางเหนือ จึงเกิดเป็นลายซิ่นยก ดอกลำพูนขึ้น

          ซิ่นพม่า มีชื่อเรียกขานมากมาย เช่น ซิ่นลุนตยา ซิ่นเช็ก ซิ่นอินเล ซิ่นซิมเหม่ ซิ่นยะไข่ ฯลฯ ซึ่งซิ่นแต่ละแบบก็มีลักษณะ แตกต่างกันไป เช่น ซิ่นลุนตยา อฉิก มีลาดลายคล้ายคลื่นพาดขวาง มีผ้าต่อตีนซิ่นเป็นหางยาวๆ ซึ่งอาจจะมีทั้งแบบแซมด้วยดิ้นเงิน ทอง หรือเป็นซิ่นแบบธรรมดา ปัจจุบันพบว่ามีผ้าพิมพ์ลายลุนตยาวางขายอยู่มากมาย ซิ่นเช็ก มีลวดลายคล้ายซิ่นลุนตยา แต่เป็นไหมทอเครื่อง เป็นต้น

          ซิ่นไทลื้อ ซิ่นไทลื้อมักมีลวดลายเป็นดวงบริเวณสะโพก ซึ่งที่มาของลวดลายนี้มีกล่าวถึงในตำนานพื้นเมืองสิบสองพันนาไว้ว่า “กาลครั้งหนึ่ง มีเทวบุตรลงมาเกิด ในเมืองมนุษย์เป็นหมาควายหลวง (ในตำนานคำว่า ‘ควาย’ นั้น ไม่มีสระอา) และได้ฆ่าชายชาวเมืองเชียงรุ่งจนหมด และได้ผู้หญิงในเมืองเป็นเมีย ต่อมามีมานพ หนุ่มกล้าหาญ ได้พลัดหลงเข้ามาในเมืองและได้ฆ่าหมาควายหลวงตาย ฝ่ายหญิงทั้งหลายต่างก็ร้องไห้และใช้มือตะกุยตะกายซากศพจนเปื้อนเลือด และได้เอามือ ที่เปื้อนเลือดมาเช็ดผ้าซิ่นตรงสะโพก ตั้งแต่นั้นมาซิ่นไทลื้อจึงมีลวดลายสีแดง เป็นจุดเด่นตรงสะโพก และเรียกลายซิ่นดังกล่าวว่า ‘ซิ่นตาหมาควาย(หลวง)’ ”

          ปัจจุบันหญิงชาวไทลื้อในสิบสองพันนาที่เป็นคน เฒ่าคนแก่ยังคงแต่งกายแบบไทลื้อดั้งเดิม แต่สำหรับหญิงสาวมักจะนิยมนุ่งซิ่นที่เป็นผ้าทอจากโรงงานซึ่งมีสีสัน สดใสมากกว่าการนุ่งซิ่นแบบเดิม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น