วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้ กลุ่มสตอเบอรี่พิ้ง



ภูมิปัญญาในด้านประเพณีความเชื่อ
ประเพณีความเชื่อ 
       เรื่องวัฒนธรรมและประเพณีในวิถีชีวิตชาวปักษ์ใต้ในรอบปีเป็นอย่างไร มีอะไรบ้างนั้น อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ 1.ประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาโดยตรง เช่น งานเทศกาลเข้าพรรษา ออกพรรษา งานวิสาขบูชา 2.ประเพณีที่มีการสืบเนื่องจากศาสนา เช่น งานบุญเดือนสิบ แห่ผ้าขึ้นธาตุ สวดด้าน การลากพระ การเล่นเพลงเรือ การชิงเปรต 3.ประเพณีที่จัดให้มีขึ้นตามฤดูกาลหรือวาระ เช่น งานแรกนาขวัญ งานแข่งเรือ งานบวชนาค งานสมรส งานทำศพ งานให้ทานไฟ งานสงกรานต์ งานทำบุญหมู่บ้าน เป็นต้น
       แต่เนื่องจากประเพณีมีมากจึงขอนำมากล่าวเฉพาะที่สำคัญ ในสมัยวัฒนธรรมทองที่ยังพอมีลมหายใจอยู่บ้าง และได้เข้าใจว่าเรื่องเหล่านี้มีบทบาทอิทธิพลเสมือนยาดำ ต่อการจัดระเบียบทางสังคมและการดำรงคุณธรรมของชาวบ้าน ได้อาศัยศาสนาเป็นแกนและใช้วัฒนธรรมประเพณีเป็นตัวช่วยให้เกิดบูรณาการ (Integration) เติมเต็ม ทำให้คนพื้นเมืองมีอัตลักษณ์และมีคุณภาพมีจริยธรรมสามารถรักษาสถาบันทางสังคมเข็มแข็งที่เป็นลักษณะเฉพาะ (Unique Strength) เป็นมรดกล้ำค่าน่าภูมิใจและเป็น “ต้นทุนชีวิต” สืบมาได้จากวันนี้


ภูมิปัญญาในด้านประเพณีความเชื่อ


ประเพณีให้ทานไฟประเพณีเล่นเพลงเรือ
ประเพณีกวนข้าวมธุปายาสยาคูประเพณีแรกนาขวัญ
ประเพณีแห่ผ้าขึ้นพระธาตุประเพณีสารทเดือนสิบ
ประเพณีกินผักประเพณีสงกรานต์
ประเพณีไล่โรคห่าประเพณีสวดด้าน
ประเพณีลากพระประเพณีสวดพระมาลัย
ประเพณีตักบาตรธูปเทียน


           ประเพณีลากพระ (ชักพระ)




ช่วงเวลา วันลากพระ จะทำกันในวันออกพรรษา คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ โดยตกลงนัดหมายลากพระไปยังจุดศูนย์รวม วันรุ่งขึ้น แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ จึงลากพระกลับวัด

ความสำคัญ
เป็นประเพณีทำบุญในวันออกพรรษา ปฏิบัติตามความเชื่อว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพระมารดา เมื่อครบพรรษาจึงเสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ พุทธศาสนิกชนไปรับเสด็จ แล้วอัญเชิญพระพุทธเจ้าประทับบนบุษบกแล้วแห่แหน

พิธีกรรม
๑. การแต่งนมพระ
นมพระ หมายถึงพนมพระเป็นพาหนะที่ใช้บรรทุกพระลาก นิยมทำ ๒ แบบ คือ ลากพระทางบก เรียกว่า นมพระ ลากพระทางน้ำ เรียกว่า "เรือพระ" นมพระสร้างเป็นร้านม้า มีไม้สองท่อนรองรับข้างล่าง ทำเป็นรูปพญานาค มีล้อ ๔ ล้ออยู่ใต้ตัวพญานาค ร้านม้าใช้ไม้ไผ่สานทำฝาผนัง ตกแต่งลวดลายระบายสีสวย รอบ ๆ ประดับด้วยผ้าแพรสี ธงริ้ว ธงสามชาย ธงราว ธงยืนห้อยระยาง ประดับต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้สดทำอุบะห้อยระย้า มีต้มห่อด้วยใบพ้อแขวนหน้านมพระ ตัวพญานาคประดับกระจกแวววาวสีสวย ข้าง ๆ นมพระแขวนโพน กลอง ระฆัง ฆ้อง ด้านหลังนมพระวางเก้าอี้ เป็นที่นั่งของพระสงฆ์ ยอดนมอยู่บนสุดของนมพระ ได้รับการแต่งอย่างบรรจงดูแลเป็นพิเศษ เพราะความสง่าได้สัดส่วนของนมพระขึ้นอยู่กับยอดนม
๒. การอัญเชิญพระลากขึ้นประดิษฐานบนนมพระ
พระลาก คือพระพุทธรูปยืน แต่ที่นิยมคือ พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร เมื่อถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ พุทธบริษัทจะสรงน้ำพระลากเปลี่ยนจีวร แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนนมพระ แล้วพระสงฆ์จะเทศนาเรื่องการเสด็จไปดาวดึงส์ของพระพุทธเจ้า ตอนเช้ามืดในวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ชาวบ้านจะมาตักบาตรหน้านมพระ เรียกว่า ตักบาตรหน้าล้อ เสร็จแล้วจึงอัญเชิญพระลากขึ้นประดิษฐานบนนมพระ ในตอนนี้บางวัดจะทำพิธีทางไสยศาสตร์เพื่อให้การลากพระราบรื่น ปลอดภัย
๓. การลากพระ
ใช้เชือกแบ่งผูกเป็น ๒ สาย เป็นสายผู้หญิงและสายผู้ชาย โดยใช้โพน (ปืด) ฆ้อง ระฆัง เป็นเครื่องตีให้จังหวะเร้าใจในการลากพระ คนลากจะเบียดเสียดกันสนุกสนานและประสานเสียงร้องบทลากพระเพื่อผ่อนแรง
ตัวอย่าง บทร้องที่ใช้ลากพระสร้อย :
อี้สาระพา เฮโล เฮโล
ไอ้ไหรกลมกลม หัวนมสาวสาว
ไอ้ไหรยาวยาว สาวสาวชอบใจ


ภูมิปัญญาในด้านศิลปการแสดง
ศิลปะการแสดง
        มหรสพหรือศิลปะการแสดง ที่ถือกันว่ามีรสชาติมาก เป็นเอกลักษณ์ เป็นยอดที่นิยม เป็นจิตวิญญาณ เป็นคุณวิเศษ และอิทธิพลทุกรูปแบบของมันได้ซึมซับเข้าไปในสายเลือด เสมือนเป็นชีวิตจิตใจของชาวปักษ์ใต้มาแต่โบราณ มีอย่างน้อย 2 อย่าง คือ หนังตะลุงกับมโนราห์ ดังมีคำพูดติดปากว่า “มาแต่ตรัง ไม่หนังก็โนราห์” คือเปรียบว่า คนพื้นเมืองนั้นมีคุณภาพอย่างน้อยจะต้องเป็นหรือเล่นได้ ไม่หนังตะลุงก็ต้องมโนราห์สักอย่างหนึ่งเป็นแน่ และถือกันว่าเป็นวิชาความรู้พิเศษ เป็นแนวทางแก่ชีวทัศน์ เป็นคุณสมบัติติดตัวคนพื้นเมืองมาช้านาน คนปักษ์ใต้ทั่วไปแม้จะร้องเล่นไม่เป็น แต่ก็มีความรู้ความเข้าใจซาบซึ้งตรึงใจมิรู้ลืม เพราะทั้งหนังตะลุงและมโนราห์เป็นผู้ให้ทั้ง “ปัญญาและอารมณ์” แก่ผู้คนพลเมือง การละเล่นการแสดงเหล่านี้จึงถือเป็นมหรสพที่ให้ความบันเทิงอย่างที่สุดและเป็นสื่อที่ให้สารัตถะเข้าถึงในดวงใจของเขาหที่สุด ทั้งหนังตะลุงและมโนราห์เชื่อกันว่าเป็นศิลปะการแสดงที่มีกำเนิดพื้นฐานมาตั้งแต่สมัยตามพรลิงค์ หรือสมัยศรีวิชัย และเป็นพลวัตขับดันต่อการสร้างพลังเอกลักษณ์ให้เป็นมหรสพคู่บ้านคู่เมือง ที่เจริญรุ่งเรื่องอยู่บนแหลมมลายูสืบมาก่อนนาน มิใช่เพิ่งเกิดในสมัยอยุธยาอย่างที่เข้าใจกัน อันเป็นสมัยที่การแสดงชนิดนี้พัฒนารูปแบบมาจนสมบูรณ์และผสมผสานกับการละเล่นอย่างอื่นไปมากแล้ว

ภูมิปัญญาในด้านศิลปการแสดง

ดาระมะโย่ง
ดีเกฮูลูหนังตะลุง
กาหลอเพลงบอก
กรือโต๊ะรองเง็ง
ลิเกป่าซัมเป็ง
มโนราห์ตือรี
แกะหนังตลุง
                                ลิเกฮูลู  

ลิเกฮูลู หรือดิเกฮูลู มาจากคำว่า ลิเก หรือดิเก และฮูลู ท่านผู้รู้ได้กล่าวไว้ว่าลิเกหรือ ดิเกมาจากคำว่า ซี เกร์ หมายถึง การอ่านทำนองเสนาะ ส่วนคำว่าฮูลู แปลว่า ใต้หรือทิศใต้ รวมความแล้วหมายถึง การขับบทกลอนเป็นทำนองเสนาะจากทางใต้

วิธีการเล่น
วิธีการเล่น เริ่มแสดงดนตรีโหมโรงเพื่อเร้าอารมณ์คนดู สมัยก่อนมีการไหว้ครูในกรณีที่มีการประชันกันระหว่างหมู่บ้าน หรืออาจมีหมอผีของแต่ละฝ่ายปัดรังควานไล่ผีคู่ต่อสู้ก็มี ปัจจุบันสู้กันด้วยศิลปคารมอย่างเดียว เมื่อลูกคู่โหมโรงต้นเสียงจะออกมาร้องทีละคน เริ่มด้วยวัตถุประสงค์ของการแสดง หลังจากนั้นก็เริ่มเข้าสู่เรื่องราว อาจจะเป็นเหตุการณ์บ้านเมือง หรือความรักของหนุ่มสาว หรือเรื่องตลก ในกรณีที่มีการประชัน หรือบางครั้งก็เป็นเรื่องราวการกระทบกระแทก เสียดสีกัน หรือหยิบปัญหาต่าง ๆ มากล่าวเพื่อให้ผู้ชมชื่นชอบในคารมและปฏิภาณ

โอกาสและเวลาที่เล่น
แต่เดิมนิยมแสดงในงานพิธีต่าง ๆ เช่น เข้าสุหนัต งานแต่งงาน (มาแกปูโล๊ะ) ปัจจุบันลิเกฮูลูยังแสดงในงานเทศกาลต่าง ๆ ร่วมกับมหรสพอื่น ๆ บางท้องที่ก็แสดงในงานพิธีสำคัญ เช่น พิธีถวายพระพรวันเฉลิมพระชนมพรรษา เป็นต้น

คุณค่า แนวคิด สาระ
การแสดงลิเกฮูลูยังสามารถเผยแพร่รณรงค์ให้ประชาชนเข้าใจถึงภัยร้ายของยาเสพติด ยาบ้า ปัญหาโรคเอดส์ ความสะอาดและอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี ได้ทั้งความรู้และความสนุกสนาน

ภูมิปัญญาในด้านกีฬาการละเล่น
กีฬาการละเล่น        กีฬาการเล่นสนุกของชาวพื้นเมืองปักษ์ใต้ เดิมคงจะมีหลายอย่างต่อมาค่อยหดหายไปดังนั้น การประมวลองค์ความรู้เข้าด้วยกัน เพื่อให้เห็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมท้องถิ่นจึงมีข้อจำกัดอยู่บ้าง ที่นำมากล่าวถึงไว้นี้ก็คัดเลือกเฉพาะที่สำคัญน่าสนใจ และสรุปย่อตามความเหมาะสม ผู้ที่ต้องการรายละเอียดพิสดารอาจดูได้ตามเชิงอรรถ และงานที่ผู้เขียนได้เขียนไว้ในหนังสืออื่น
ภูมิปัญญาในด้านกีฬาการละเล่น

ชนไก่แข่งนกเขา
ชนวัวแข่งสิละ
หัวล้านชนกันแข่งว่าว
แข่งเรือหมากขุม




                          แข่งนกเขา



       แข่งนกเขา เป็นนกเขาชวาหรือนกเขาเล็กนิยมเลี้ยงไว้ฟังเสียงขันที่ไพเราะ เพื่อความสุขใจเป็นสิ่งเชิดหน้าชูตาในสังคม หรือเลี้ยงไว้ดูเล่นยามว่างแก้รำคาญเป็นงานอดิเรกและถือเป็นสัตว์สิริมงคลนำโชคลาภมาให้ด้วย จึงนิยมเลี้ยงกันมากตั้งแต่นครศรีธรรมราชลงไป โดยเฉพาะทางสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส นิยมเลี้ยงกันมากที่สุด ไปทางไหนจะพบเสาสูงปักหน้าบ้านเพื่อชักรอกให้นกขึ้นไปผึ่งแสงแดดตอนเช้า และพ่นน้ำเสมอ มีการเพาะพันธุ์ขายส่งต่างประเทศ เกิดอุตสาหกรรมต่อกรงนกสวยงามราคาแพงจำหน่าย มีการจัดงานแข่งขันฟังเสียงทั้งระดับประเทศและนานาชาติเป็นประจำเกือบทุกปีที่จังหวัดยะลา นกที่แข่งขันชนะบ่อยจะมีราคาแพงมากบ้านของผู้มีอันจะกินมักจะต้องหานกเขาชวาเสียงดีๆ มาเลี้ยงไว้ประดับบ้าน เสียงนกเขาชวามี ๓ เสียง คือ เสียงใหญ่ เสียงกลาง และเสียงเล็ก นกที่ขันเสียงมีปลายหรือมีกังวานถือเป็นนกที่ดี การแข่งขันนกเขาชวาจะจัดทั้ง ๓ ประเภทเสียง และการพิจารณายังต้องดูคารมลีลาจังหวะการขัน เช่น ช้า เร็ว อีกด้วย


ภูมิปัญญาในด้านอาหารการกิน
อาหารการกิน       มีสำนวนคำพูดหรือคำพังเพยที่เกี่ยวกับอาหารการกินพื้นบ้านของชาวปักษ์ใต้อยู่หลายคำ อันสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม เช่น นครพุงปลา สงขลาผักบุ้ง พัทลุงลอกอ (เมืองนครศรีธรรมราชมีพุงปลามาก ส่งไปขายยังจังหวัดใกล้เคียง เมืองสงขลาปลูกผักบุ้งกันทั่วไป ส่วนเมืองพัทลุงอุดมสมบูรณ์ด้วยมะละกอ) ยุ่งเหมือนหมวดข้าวยำ (ยุ่งเหยิงสิ้นดี) แกงผักให้หนักเคย แกงบอนให้หย่อนเคย (บอกวิธีปรุงอาหาร) เดือน ๑๑ เดือน ๑๒ พุงช้างพุงม้า เดือน ๔ เดือน ๕ พุงนกพุงรอก (หน้าร้อนกินข้าวอร่อยสู้หน้าฝนไม่ได้) กินเหนียว (งานแต่งงาน) กินดีเหมือนน้ำชุบแม่กิมโหย (แม่กิมโหยเป็นแม่ครัวของพระยารัษฎานุประดิษฐ์เทศาภิบาล ตำน้ำพริกอร่อยนัก) กินเหมือนไฟเดือนห้า (หิวจัด) กินเหมือนยัดบอก (กินจุมาก) กินเหมือนแพะตาบอด (กินเอากินเอา) กินเหมือนแพะข้อง (กินจนหมดเกลี้ยง) กินข้าวกับพรก ใบบกต้มเกลือ (จนแสนสาหัสต้องใช้กะลาแทนจาน) กินจนสิ้นเหมง (จนยากไม่มีอะไรเหลือหรอเลย) ช่อนแกงส้ม หมอต้มหลุกตุก ดุกไหลไก่คั่ว วัวแกงที่ ปลาดี จี่ใส่ห่อ (บอกวิธีเลือกชนิดทำอาหาร) เป็นต้น
       รสนิยมและวัฒนธรรมประเพณีการกินการอยู่ของคนแต่ละภาคไม่เหมือนกัน ชาวปักษ์ใต้ชอบอาหารรสเผ็ดจัด ถึงเครื่องปรุงเครื่องเทศรสชาติเข้มข้น ขมิ้นเหลือง ดีปลี เคย เกลือ ฯลฯ ขาดครัวไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นข้าวแกงธรรมดาหรือขนมจีน จะต้องมี “ผักเหนาะ” (ผักแกล้ม ผักแนม) เต็มเพียบสำรับ คือชอบกินผักมากเป็นพิเศษ ถือเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของชาวใต้เพราะผักเหนาะนอกจากช่วยชูรส ช่วยลดความเผ็ดร้อนแล้ว พืชผักต่างๆ ยังเป็นเครื่องสมุนไพรช่วยบำรุงรักษาร่างกายอย่างดี คนโบราณจึงไม่ค่อยปรากฏเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคหัวใจ โรคเหน็บชา และอื่นๆ มีร่างกายแข็งแรงลูกหูลูกตาดี เพราะพืชผักสมุนไพรมีสารที่มีคุณสมบัติเป็นพฤกษเคมีหรือเป็นยารักษาโรคได้ สามารถต้านอนุมูลอิสระต้นเหตุที่ทำให้เกิดโรคได้ ผักเหนาะโดยมากเป็นยอดอ่อนลูกอ่อนของต้นไม้ต้นพืชซึ่งมีนับร้อยชนิด แต่ที่ขึ้นชื่อเช่น สะตอ เนียง เหรียง สะตอเบา (กระถิน) ยอดยาร่วง ลูกฉิ่ง ขนุนอ่อน ยอดจิก ยอดหมุย ยอดเหม็ดชุน ยอดมะปริง ยอดมะปราง ยอดมะตูม ยอดมะกอก ถั่วฝักยาว แตงกวา มะเขือ ฯลฯ ชาวปักษ์ใต้มักจะพูดว่าอาหารมื้อนี้ “หรอยจังหู” หรือ “หรอยราสา” หมายความว่า อร่อยเหลือเกิน หรืออร่อยถึงใจนัก
       ในชีวิตประจำวัน ตอนเช้าจะเห็นผู้ชายไปนั่งชุมนุมกันที่ร้านขายกาแฟเนืองแน่นทุกร้านและทุกหนแห่งไม่ว่าในเมืองนอกเมืองนับแต่เช้าตรู่ มักเรียกกันว่า “สภากาแฟ” เนื่องจากนิยมดื่มน้ำชากาแฟ (เรียกโกปี้เป็นกาแฟโบราณคั้นสดๆ จากถุงไม่นิยมแบบสมัยใหม่) และมีขนมจำพวกข้าวเหนียวห่อ (ดำ - ขาว - เหลือง)  ข้าวเหนียวปิ้ง จาก๊วย (ปลาท่องโก๋) ขนมจีบ ซาลาเปา ฯลฯ และขนมอื่นๆ ในท้องถิ่น วางเต็มถาดเป็นอาหารประกอบมื้อเช้า ใครมีข่าวสาร ใครมีธุระปะปัง เรื่องลับเรื่องแจ้ง เรื่องการเมือง เรื่องร้ายเรื่องดีต่างก็จะนำมาเสวนาวิพากษ์วิจารณ์บอกเล่ากันที่ร้านกาแฟ เพื่อได้รับรู้ทัศนะแลกเปลี่ยนความรู้ข่าวสาร ได้รับการเผยแพร่อย่างรวดเร็วและกว้างขวางกันทั่วชุมชน ใครอยากหาเสียงหรือฟังข้อคิดเห็น ฟังแนวโน้มคะแนนนิยมเลือกตั้งก็ต้องไปที่ร้านกาแฟ เพียงชั่วโมงเดียวก็รู้ เพราะร้านกาแฟมีตั้งแต่คนถีบสามล้อไปจนถึงเถ้าแก่ พ่อค้า ข้าราชการ
        ส่วนผู้หญิงถ้าไม่กินข้าวที่บ้าน ตามตลาดร้านค้า ตลาดนัด ก็มีขนมจีน มีข้าวแกง และข้าวยำเป็นอาหารเช้าที่ได้รับความนิยมสูง เรื่องข้าวยำไม่มีที่ไหนมีชื่อโด่งดังเท่า “ข้าวยำสงขลา” มีรสชาติอร่อยเป็นเจ้าตำรับมานาน ถ้าเป็นของชาวไทยเชื้อสายมลายูชายแดนก็จะมีความแปลกออกไป แต่ก็อร่อยน่ากินไม่แพ้กัน อย่างไรก็ตามเพื่อความเข้าใจง่าย ใคร่ขอสรุปเรื่องอาหารการกินแบบพื้นเมืองของชาวปักษ์ใต้ เฉพาะที่เห็นว่าเป็นเอกลักษณ์มีลักษณะเด่นแปลกเฉพาะตัวและเป็นที่น่าสนใจศึกษาดังนี้

ภูมิปัญญาในด้านอาหารการกิน

แกงพุงปลาข้าวยำ
แกงส้มกินเหนียว
ขนมจีนน้ำบูดู
ไข่เค็มไชยาปลาฉิ้งฉ้าง
ซาลาเปาทับหลีอาหารทะเลแปรรูป


น้ำบูดู





“น้ำบูดู” เป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปลาทะเล มีลักษณะเป็นน้ำข้นพอควรใช้ เป็นเครื่องปรุงรสอาหารหรือเครื่องจิ้ม คล้ายน้ำปลา ใช้ปรุงรสเป็นเครื่องจิ้มเช่นเดียวกับน้ำพริก สำหรับประเทศไทย จากการรับเอาแบบอย่างจากชาวอินโดนีเซียทำให้ ชาวปะเสยะวอ มีการดัดแปลงปรับปรุงวิธีการผลิต“น้ำบูดู” เนื่องจากสภาพพื้นที่ประกอบกับวัตถุดิบ มีจำนวนมาก นำมาใช้บริโภค จำหน่าย แล้วยังเหลือจึงเก็บหมักดองไว้ในภาชนะ แล้วนำออกมาบริโภคและแจกจ่ายให้กับเพื่อนบ้านเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วไป จากการทำไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือน แจก ให้แก่เพื่อนบ้าน แลกเปลี่ยน มาจำหน่ายให้กับคนในชุมชน และนอกชุมชนซึ่งต่อมาได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนปลาที่ใช้หมักดองเป็น”ปลากะตัก”เนื่องจากมีรสชาติ ดีกว่า


ภูมิปัญญาในด้านสิ่งของเครื่องใช้พื้นบ้าน
สิ่งของเครื่องใช้พื้นบ้าน       สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ บรรดามีที่คนพื้นบ้านพื้นเมืองภาคใต้ ใช้สอยตามวิถีชีวิตในพื้นถิ่น (Folklore or Folklife) ประจำวันนั้นมีมากเช่นเดียวกับคนในภูมิภาคอื่น แต่อาจจะมีรูปแบบแตกต่างกันบ้างตามอิทธิพลสิ่งแวดล้อม และวัตถุสิ่งของเหล่านั้นก็เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ชาวบ้านคิดทำขึ้นใช้เองด้วยฝีมือ ความเรียบง่าย ตามวัตถุประสงค์ ประโยชน์ใช้สอยอยู่บนพื้นฐานของอาชีพ สังคม วัฒนธรรม และภูมิปัญญา ลางอย่างก็มีลักษณะผสมผสานระหว่างความเป็นศิลปะและความเป็นหัตถกรรม นอกจากนี้ยังมีการรับถ่ายทอดอิทธิพลระหว่างกันกับประชานในภูมิภาคอื่นด้วย ดังนั้นคุณค่าความงาม ความโดดเด่น นอกจากทักษะ/ฝีมือประสบการณ์ ลักษณะงานการใช้สอยแล้วยังขึ้นกับวัสดุพื้นถิ่นธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และขนบธรรมเนียมประเพณีนิยมเป็นองค์ประกอบด้วย
       ส่วนการอนุรักษ์ (Preservation) วัฒนธรรมพื้นบ้านประเพณี ก็ขึ้นกับองค์ประกอบปัจจัยหลายอย่าง เช่น วัสดุ รูปแบบ ประโยชน์ใช้สอย คุณค่า ความจำเป็น ฯลฯ จะพอใช้สอยเท้าเหยียบย่ำซ้ำรอยเดิมอยู่ร่ำไปคงไม่ได้ ซึ่งต้องปรับเปลี่ยนบ้างตามเหตุผล ความเหมาะสม แต่ส่วนที่เป็นสารัตถะหรือ แกนเอกลักษณ์อันเป็นหัวใจหลักของโครงสร้างจำเป็นต้องคงรูปรักษาไว้ คือ จิตวิญญาณลักษณะท่าทางของพื้นบ้านพื้นเมืองจะต้องแสดงให้เห็นได้ตลอดไป และควรจะได้ส่งเสริมให้พัฒนาเจริญเติบโตที่เน้นนวัตกรรม โดยการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ออกมาให้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย
       เครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นของพื้นบ้านที่ชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน ชาวประมง หรือประชาชนพลเมืองทั่วไปใช้สอยในชีวิตประจำวัน ที่จะขอนำมากล่าวถึงนี้เป็นเพียงตัวอย่างเพื่อประกอบการศึกษาเปรียบเทียบเท่านั้น

ภูมิปัญญาในด้านสิ่งของเครื่องใช้พื้นบ้าน

ด้งกรงนก
แกะกรงต่อนกคุ่ม
กระสอบเครื่องหาบหิ้ว
เกี่ยวกุบหมาก
ค้อมไก่เหล็กขูด
กระบอกขนมจีนเหล็กไฟตบ
เครื่องใช้ในครัวหมาตักน้ำ
เครื่องมือจับปลามีดพร้า
ครกสีสาด
เครื่องย่านลิเพาผ้าบาติกอันดามัน
กริชผลิตภัณฑ์จักสานใบเตย
ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวหมวกกะปิเยาะห์
ผลิตภัณฑ์กระจูดผ้าคลุมผมสตรีปักจักร


ผ้าคลุมผมสตรีปักจักร
ผ้าคลุมผม (ฮีญาบ) เป็นเครื่องแต่งกายที่ใช้กันเป็นประจำในชีวิตประจำวันของสตรีมุสลีมะห์ทุกคนที่นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งผ้าคลุมผมเป็นสิ่งที่สตรีมุสลิมขาดไม่ได้ ในพื้นที่ชายแดนใต้ เป็นพื้นที่อาศัยของชุมชนมุสลิมเป็นส่วนใหญ่ งานฝีมือด้านการปักจักรเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่ถ่ายทอดกันมา คนในชุมชนจึงมีแนวคิดรวมกลุ่มสตรีในชุมชน เพื่อรักษาภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ โดยการจัดตั้งกลุ่มสตรีดาหลา ปักผ้าคลุมผม เสื้อสตรีมุสลิมปักลาย เพื่อตอบสนองความต้องการของสตรีมุสลิม ฝีมืองานด้านการปักจักรของกลุ่มสตรีดาหลา มีลวดลายที่สวยงามประณีตเป็นที่ต้องการของลูกค้า เนื่องจากได้ผ่านงานด้านการปักจักรมานาน มีความชำนาญด้านการปักจักรมานานกว่า 20 ปี กลุ่มสตรีดาหลาเริ่มจัดตั้ง เมื่อปี ๒๕๔๗ และได้รับการสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้รับคัดสรรผลิตภัณฑ์ ระดับ ๕ ดาว ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเป็นที่นิยมของตลาด เช่น ผ้าคลุมผม เสื้อสตรีมุสลิมปักลาย ผ้าละหมาด เป็นต้น



                                                                ผ้าคลุมผม











กริช
กริชรามัน จัดอยู่ในกริชสกุลช่างปัตตานี เรียกว่า กริชตะยง หรือ กริชจอแต็ง รูปลักษณ์ของด้ามกริชมองดูผิวเผินด้ามกริชจะมีจมูกยาวแหลมคล้ายปากนกกระเต็น รูปลักษณ์ที่แท้จริงคือ ยักษ์ในตัววายัง หรือตัวหนังของชวาที่เคยเข้ามามีอิทธิพลในศิลปกรรมท้องถิ่นของเมืองปัตตานีในอดีต กริชชนิดนี้มีใช้กัน ตั้งแต่พื้นที่ในจังหวัดสงขลาตอนใต้ลงไป
ส่วนกริชของจังหวัดยะลามีชื่อและประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน คือ กริชเมืองรามันเมื่อประมาณ ๒๐๐ - ๓๐๐ ปีก่อน เจ้าเมืองรามัน หรืออำเภอรามัน จังหวัดยะลา ในปัจจุบัน ประสงค์จะให้มีกริช เป็นอาวุธคู่บ้านคู่เมือง และต้องการมีกริชประจำตัวด้วยถึงกับเชิญช่างผู้ชำนาญการจากประเทศอินโดนีเซีย มีชื่อว่า ปาแนซาระห์ (ปาแน แปลว่า ช่าง ซาระห์ เป็นชื่อที่เจ้าเมืองตั้งให้) มาทำกริชที่เมืองรามันในรูปแบบปัตตานีและรูปแบบรามัน ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะ จนกริชรูปแบบนี้ถูกเรียกขานในท้องถิ่นว่า กริชรูปแบบปาแนซาระห์ ตามชื่อของช่างทำกริชชาวชวา
ตั้งแต่นั้นมา จึงมีการสืบทอดการทำกริช ในพื้นที่เมืองรามัน โดยเฉพาะที่ตำบลตะโละหะลอ มาหลายชั่วอายุคนจวบจนปัจจุบัน กริชที่เมืองรามันนิยมทำเป็นหัวนกพังกะมากกว่าชนิดอื่น นกพังกะ คือนกที่มีปีกและตัวสีเขียวปากยาวสีแดงอมเหลือง คอขาวบ้างแดงบ้าง
นอกจากนี้ยังทำเป็นหัวรูปไก่ หัวงูจงอาง และรูปคน ส่วนใหญ่สลักด้วยไม้หรือกระดูกปลา กริชมีหลายรูปแบบ เช่น กริชแบบกลุ่มบาหลีและมดูรา กริชแบบชวา กริชแบบคาบสมุทรตอนเหนือ กริชแบบบูฆิส กริชแบบสุมาตรา กริชแบบปัตตานี กริชแบบซุนดาหรือซุนดัง และกริชแบบสกุลช่างสงขลา




ลักษณะที่โดดเด่นของกริชรามันห์ คือ มีการแกะสลักหัวกริชด้วยเอกลักษณ์ท้องถิ่นภาคใต้ ใช้ไม้ตามธรรมชาติ ลวดลายสวยงามทั้งหัวกริช ตัวกริช และด้ามกริช

ที่มา   http://poompanyapaktai.freevar.com/index2.html 


ภูมิปัญญาท้องถิ่นของภาคอีสาน กลุ่มสตอเบอรี่พิ้ง


ภูมิปัญญาท้องถิ่นของภาคอีสาน

ภูมิปัญญาด้านการตั้งชุมชนและสร้างที่อยู่อาศัย

        ลักษณะหมู่บ้านทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานนั้นมักจะอยู่รวมกันเป็นกระจุก ส่วนที่

ตั้งบ้านเรือนตามทางยาวของลำน้ำนั้นมีน้อย ผิดกับทางภาคกลางที่มักตั้งบ้านเรือนตามทางยาว ทั้งนี้

เพราะมีแม่น้ำลำคลองมากกว่า

        หนุ่มสาวชาวอีสานเมื่อแต่งงานกันแล้ว ตามปกติฝ่ายชายจะต้องไปอยู่บ้านพ่อตาแม่ยาย ต่อเมื่อมี

ลูกจึงขยับขยายไปอยู่ที่ใหม่เรียกว่า "ออกเฮือน" แล้วหักล้างถางพงหาที่ทำนา ดังนั้น ที่นาของคนชั้นลูก

ชั้นหลานจึงมักไกลออกจากหมู่บ้านไปทุกที และเมื่อบริเวณเหมาะสมจะทำนาหมดไป เพราะพื้นที่ราบที่มี

แหล่งน้ำจำกัด คนอีสานชั้นลูกหลานก็มักชวนกันไปตั้งบ้านใหม่อีก หรือถ้าที่ราบในการทำนาบริเวณใด

กว้างไกลไปมาลำบาก ก็จะชักชวนกันไปตั้งบ้านใหม่ใกล้เคียงกับนาของตน ทำให้เกิดการขยายตัวกลาย

เป็นหมู่บ้านขึ้น

 ลักษณะการตั้งถิ่นฐาน

     ในการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนของคนอีสานมักเลือกทำเลที่เอื้อต่อการยังชีพ ซึ่งมีองค์ประ กอบทั่วไป


ดังนี้
        1. แหล่งน้ำ นับเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก อาจเป็นหนองน้ำใหญ่หรือห้วย หรือ ลำน้ำที่แยกสาขามา


จากแม่น้ำใหญ่ ที่มีน้ำเฉพาะฤดูฝนส่วนมากเป็นที่ราบลุ่มสามารถทำนาเลี้ยงสัตว์ ได้ในบางฤดูเท่านั้น

  ชื่อหมู่บ้านมักขึ้นต้นด้วยคำว่า "เลิง วัง ห้วย กุด หนอง และท่า" เช่น เลิงนกทา วังสามหม้อ ห้วยยาง กุด

นาคำ หนองบัวแดง ฯลฯ

        2. บริเวณที่ดอนเป็นโคกหรือที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง สามารถทำไร่และมีทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ มีทั้งที่ดอนริม

แม่น้ำและที่ดอนตามป่าริมเขา แต่มีน้ำซับไหลมาบรรจบเป็นหนองน้ำ ชื่อหมู่บ้านมักขึ้นต้นด้วนคำว่า 

"โคก ดอน โพน และโนน" เช่น โคกสมบูรณ์ ดอนสวรรค์ โพนยางคำ ฯลฯ

        3. บริเวณป่าดง เป็นทำเลที่ใช้ปลูกพืชไร่และสามารถหาของป่าได้สะดวก มีลำธารไหลผ่าน เมื่อ

อพยพมาอยู่กันมากเข้าก็กลายเป็นหมู่บ้านและมักเรียกชื่อหมู่บ้านขึ้นต้นด้วยคำว่า "ดง ป่า และเหล่า" 

เช่น โคกศาลา ป่าต้นเปือย เหล่าอุดม ฯลฯ

        4. บริเวณที่ราบลุ่ม เป็นพื้นที่เหมาะในการทำนาข้าว และทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ในหน้าแล้ง ตัวหมู่บ้านจะ

ตั้งอยู่บริเวณขอบหรือแนวของที่ราบติดกับชายป่า แต่น้ำท่วมไม่ถึงในหน้าฝน บางพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มมี

น้ำขังตลอดปี เรียกว่า "ป่าบุ่งป่าทาม" เป็นต้น

        5. บริเวณป่าละเมาะ มักเป็นที่สาธารณะสามารถใช้เลี้ยงสัตว์และหาของป่าเป็นอาหารได้ ตลอดจน

มีสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่นำมาเป็นอาหารยังชีพ รวมทั้งสมุนไพรใช้รักษาโรค และเป็นสถานที่ยกเว้นไว้เป็น

ดอนปู่ตาตามคติความเชื่อของวัฒนธรรมกลุ่มไต-ล

ความเชื่อในการเลือกภูมิประเทศเพื่อตั้งหมู่บ้านในภาคอีสานจะเห็นได้ว่ามีหลักสำคัญอยู่ 3 ประการ คือ 

ต้องเลือกทำเลที่ประกอบด้วย

        1. น้ำ เพื่อการยังชีพและประกอบการเกษตรกรรม

        2. นา เพื่อการปลูกข้าว (ข้าวเหนียว) เป็นอาหารหลัก


        3. โนน เพื่อการสร้างบ้านแปงเมือง ที่น้ำท่วมไม่ถึง


        ส่วนคติความเชื่อของชาวอีสานในการดำเนินชีวิต ชาวอีสานมี ความเชื่อที่ได้รับการสืบทอดมาจาก


บรรพบุรุษกล่าวคือ ความเชื่อในอำนาจลี้ลับที่เหนือธรรมชาติ และเชื่อในการครองเรือน การทำมาห

เลี้ยงชีพ  สำหรับความเชื่อในการตั้งหมู่บ้านก็ไม่ต่างกันนัก ชาวอีสานมีการนับถือ"ผีบ้าน" และแถนหรือ 

"ผีฟ้า"มีการเซ่นสรวงดวงวิญญาณบรรพบุรุษเพื่อให้ช่วยปกป้องรักษาลูกหลาน มีการตั้ง "ศาลเจ้าปู่" ไว้ที่

ดอนปู่ตา ซึ่งมีชัยภูมิเป็นโคก น้ำท่วมไม่ถึง มีต้นไม้ใหญ่หนาทึบ มีการก่อสร้าง "ตูบ" เป็นที่สถิตของเจ้าปู่

ทั้งหลาย ตลอดจนการตั้ง "บือบ้าน"(หลักบ้าน)เพื่อเป็นสิริมงคลของหมู่บ้าน และมีการเซ่น "ผีอาฮัก" คือ

เทพารักษ์ให้ดูแลคุ้มครองผู้คนในหมู่บ้านให้อยู่ดีมีสุขตลอดไป

       "ผีปู่ตา" จะกระทำในเดือน 7 คำว่า "ปู่ตา" หมายถึงญาติฝ่ายพ่อ(ปู่-ย่า)และญาติฝ่ายแม่(ตา-ยาย)ซึ่ง

ทั้งสี่คนนี้ เมื่อยังมีชีวิตอยู่ก็เป็นที่เคารพของลูกหลาน ครั้นเมื่อตายไปจึงปลูกหอหรือที่ชาวอีสาน

เรียก"ตูบ" มักใช้เสา 4 ต้น หลังคาจั่วพื้นสูง โดยเลือกเอาสถานที่เป็นดงใกล้บ้านมีต้นไม้ใหญ่และสัตว์ป่า

นานาชนิดเรียกว่า"ดงปู่ตา" ถือเป็นที่ศักดิ์สิทธ์ ใครไปรุกล้ำตัดต้นไม้หรือล่าสัตว์ไม่ได้ หรือแม้แต่แสดง

วาจาหยาบคายก็ไม่ได้ ปู่ตาจะลงโทษกระทำให้เจ็บหัวปวดท้อง

        และเมื่อมีการเจ็บไข้ได้ป่วย มีคนล้มตายผิดปกติเกิดขึ้นในหมู่บ้านชาวอีสานถือกันว่า"หลักเหงี่ยง

หงวย" ต้องทำพิธีตอกหลักบ้านใหม่ให้เที่ยงตรง มีการสวดมนต์เลี้ยงพระสงฆ์ เซ่นสรวงเทพยาดาอารักษ์ 

แล้วหาหลักไม้แก่นมาปักใหม่ ซึ่งต้องมีคาถาหรือยันต์ใส่พร้อมกับสวดญัตติเสาก่อนเอาลงดินในบริเวณ

กลางบ้าน ทั้งนี้เพราะชาวอีสานมีความเชื่อในการตั้ง "หลักบ้าน" เพราะหลักบ้านเป็นองค์ประกอบที่

สำคัญของผังชุมชนระดับหมู่บ้าน และเปรียบเสมือนหัวใจของบ้าน เมื่อชุมชนเติบโตขึ้น "หลักบ้าน" ก็

พัฒนาไปสู่"หลักเมือง" ดังที่ปรากฎอยู่ทั่วไปในประเทศไทย

    หลักบ้านมักสร้างด้วยไม้มงคล เช่น ไม้คูน ไม้ยอ มีทั้งหลักประธานหลักเดี่ยวและมีพร้อมหลักบริวาร

รายล้อม ส่วนรูปแบบของหลักบ้านนั้น มักควั่นหัวไม้เป็นเสาทรงบัวตูมหยาบ ๆ บางแห่งก็ถากให้เป็น

ปลายแหลมแล้วทำหยัก"เอวขัน"ไว้ส่วนล่าง


ความเชื่อในการสร้างเรือนอีสาน

    อันดับแรกต้องพิจารณาสถานที่ ๆ จะสร้างเรือนก่อน โดยต้องเลือกเอาสถานที่ปลอดโปร่ง ไม่มีหลุม

บ่อ ไม่มีจอมปลวก ไม่มีหลุมผี ไม่มีตอไม้ใหญ่ และต้องดูความสูงต่ำ ลาดเอียงของพื้นดินว่าลาดเอียง

ไปทางทิศใดและจะเป็นมงคลหรือไม่ ดังนี้

       1. พื้นดินใด สูงหนใต้ ต่ำทางเหนือ เรียกว่า "ไชยะเต ดีหลี"

       2. พื้นดินใด สูงหนตะวันตก ต่ำทางตะวันออก เรียกว่า "ยสะศรี-ดีหลี"

       3. พื้นดินใด สูงทางอีสาน ต่ำทางหรดี เรียกว่า "ไม่ดี"

       4. พื้นดินใด สูงทางอาคเนย์ ต่ำทางพายัพ เรียกว่า "เตโซ" เฮือนนั้นมิดี เป็น ไข้ พยาธิฮ้อนใจ

    เมื่อเลือกได้พื้นที่ปลูกเรือนแล้ว จะมีการเสี่ยงทายพื้นที่นั้นอีกครั้งหนึ่ง โดยจัดข้าว 3 กระทง คือ ข้าว

เหนียว 1 กระทง,ข้าวเหนียวดำ 1 กระทงและข้าวเหนียวแดง 1 กระทง นำไป วางไว้ตรงหลักกลางที่ดิน

เพื่อให้กากิน

        ถ้ากากินข้าวดำ ท่านว่าอย่าอยู่เพราะที่นั้นไม่ดี

        ถ้ากากินข้าวแดง ท่านว่าไม่ดียิ่งเป็นอัปมงคลมาก

        ถ้ากากินข้าวขาว ท่านว่าดีหลี จะอยู่เย็นเป็นสุข ให้รีบเฮ็ดเรือนสมสร้างให้ เสร็จเร็วไว

        การเลือกพื้นที่ที่จะปลูกเรือนอีกวิธีหนึ่งคือ การชิมรสของดินโดยขุดหลุมลึกราวศอกเศษ ๆ เอา

ใบตองปูไว้ก้นหลุม แล้วหาหญ้าคาสดมาวางไว้บนใบตอง ทิ้งไว้ค้างคืนจะได้ไอดินเป็นเหงื่อจับอยู่หน้า

ใบตอง จากนั้นให้ชิมเหงื่อที่จับบนใบตอง

        หากมีรสหวาน เป็นดินที่พออยู่ได้

        มีรสจืด เป็นดินที่เป็นมงคล จะอยู่เย็นเป็นสุข

        มีรสเค็ม เป็นอัปมงคล ใครอยู่มักไม่ยั่งยืน

        มีรสเปรี้ยว พออยู่ได้แต่ไม่ใคร่ดีนัก จะมีทุกข์เพราะเจ็บไข้อยู่เสมอ

    นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อเรื่องกลิ่นของดินอีกด้วย โดยการขุดดินลึกราว 1 ศอก เอาดินขึ้นมาดมกลิ่น

ว่าเป็นอย่างไร ซึ่งเชื่อกันว่า ถ้าดินมีกลิ่นหอม ถือว่าดินนั้นอุดมดี เป็นมงคลอยู่เย็นเป็นสุข แต่ถ้าดินมี

กลิ่นเย็น กลิ่นเหม็น กลิ่นคาว ถือว่าดินนั้นไม่ดี ใครปลูกสร้างบ้านอยู่เป็นอัปมงคล

    การดูพื้นที่ก่อนการสร้างเรือน ชาวอีสานแต่โบราณถือกันมากแต่ในปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนให้

สอดคล้องกับวิถีชีวิต โดยยังใช้คติเดิมแต่มีการเลี่ยงหรือแก้เคล็ด เช่น การชิมดิน หากเป็นรสเค็มหรือ

เปรี้ยวก็แก้เคล็ดโดยการบอกว่าจืด ส่วนการดมกลิ่นดิน หากมีกลิ่นเหม็นคาวก็จะบอกเอาเคล็ดว่าหอม

 เป็นต้น
        นอกจากนี้ชาวอีสานมีความเชื่อในการสร้างเรือนให้ด้านกว้างหันไปทางทิศตะวันออกและตะวันตก

 ให้ด้านยาวหันไปทางทิศเหนือและใต้ ซึ่งเป็นลักษณะที่เรียกว่า วางเรือนแบบ “ล่องตาเว็น” (ตามตะวัน)

 เพราะถือกันว่า หากสร้างเรือนให้ “ขวางตาเว็น” แล้วจะ “ขะลำ” คือเป็นอัปมงคลทำให้ผู้อยู่ไม่มีความ

สุข
    บริเวณรอบ ๆ เรือนอีสานไม่นิยมทำรั้ว เพราะเป็นสังคมเครือญาติมักทำยุ้งข้าวไว้ใกล้เรือน บางแห่งทำ

เพิงต่อจากยุ้งข้าว มีเสารับมุงด้วยหญ้าหรือแป้นไม้ เพื่อเป็นที่ติดตั้งครกกระเดื่องไว้ตำข้าว ส่วนใต้ถุน

บ้านซึ่งเป็นบริเวณที่มีการใช้สอยมากที่สุด จะมีการตั้งหูกไว้ทอผ้า กี่ทอเสื่อ แคร่ไว้ปั่นด้วย และเลี้ยงลูก

หลาน

    นอกจากนั้นแล้ว ใต้ถุนยังใช้เก็บไหหมักปลาร้า และสามารถกั้นเป็นคอกสัตว์เลี้ยง ใช้เก็บเครื่องมือ

เกษตรกรรม ตลอดจนใช้จอดเกวียน

        การถือฤกษ์ยามในการปลูกเรือน   ในเดือนยี่ เดือนสี่ เดือนหก เดือนเก้า เดือนสิบสอง   ถือเป็น

ฤกษ์ที่ดีในการปลูกเรือน โดยเฉพาะในเดือนหกและเดือนเก้า   

        ทำเลการปลูกเรือน   ทำเลที่เหมาะในการปลูกเรือน   เช่น  รูปดวงจันทร์รูปมะนาวตัดรูปเรือสำเภา

และรูปสี่เหลี่ยมคางหมู เป็นความเชื่อสำหรับผู้ครองเรือนในทุกภูมิภาคเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลต่อผู้

อยู่อาศัย ในภาคอีสานก็เช่นเดียวกันหากจะมีคติความเชื่อในเรื่องทิศและชัยภูมิที่ดินเพิ่มเติมคือหากเป็น

แผ่นดินที่สูงทางใต้ ต่ำทางเหนือ เป็นที่ ไชยะ แผ่นดินที่สูงทางตะวันตก ต่ำทางตะวันออกเป็นที่ยะสะศรี
แผ่นดินที่สูงทางพายัพ ต่ำทางทักษิณ เป็นที่ สะศรี ถือว่าเป็นทำเลที่ดี


ลักษณะบ้านทางภาคอีสาน

อาหารอีสาน

ากจะกล่าวถึงอาหารการกินของคนอีสาน  หลายคนคงรู้จักคุ้นเคยและได้ลิ้มชิมรส กันมาบ้างแล้ว   ชาวอีสานมีวถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายเช่นเดียวกับการที่รับประทานอาหารอย่างง่ายๆ   มักจะรับประทานได้ทุกอย่าง    เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของภาคอีสาน   ชาวอีสานจึงรู้จักแสวงหาสิ่งต่างๆที่สามารถรับประทานได้ในท้องถิ่น  มาดัดแปลงเป็นอาหารรับประทาน อาหารอีสานเป็นอาหารที่มีความแตกต่างจากอาหารของภาคอื่นๆ  และเข้ากับวิถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายของชาวอีสาน  อาหารของชาวอีสานในแต่ละมื้อจะเป็นอาหารง่ายๆเพียง 2-3 จาน  ซึ่งทุกมื้อจะต้องมีผักเป็นส่วนประกอบหลักพวกเนื้อส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อปลาหรือเนื้อวัวเนื้อควาย
    ความพึงพอใจในรสชาติอาหารของชาวอีสานนั้นไม่มีตายตัวแล้วแต่ความชอบของบุคคล  แต่อาหารพื้นบ้านอีสานส่วนใหญ่แล้วจะออกรสชาติไปทางเผ็ด  เค็ม  และเปรี้ยว
     เครื่องปรุงอาหารอีสานที่สำคัญและแทบขาดไม่ได้เลย  คือ  ปลาร้า  ซึ่งที่เกิดจากภูมิปัญญาด้านการถนอมอาหารของบรรพบุรุษของชาวอีสาน  ถ้าจะกล่าวว่าชาวอีสานทุกครัวเรือนต้องมีปลาร้าไว้ประจำครัวก็คงไม่ผิดนัก   ปลาร้าใช้เป็นส่วนประกอบหลักของอาหารได้ทุกประเภท   เหมือนกับที่ชาวไทยภาคกลางใช้น้ำปลา
ลักษณะการปรุงอาหารพื้นเมืองอีสาน
ลาบ  เป็นอาหารประเภทยำที่มีเนื้อมาสับละเอียดหรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆบางๆปรุงรสด้วยน้ำปลาร้า พริก ข้าวคั่ว ต้นหอม  ผักชี รับประทานกับผักพื้นเมือง นิยมใช้กับเนื้อปลาหมูวัวควายและไก่
ก้อย  เป็นอาหารประเภทยำที่จะนำเนื้อย่างมาหั่นเป็นชิ้นๆผสมกับผักพื้นเมืองนิยมใช้กับเนื้อปลาหมูวัวควายและไก่  ทานกับผักสดนานาชนิด 
ส่า  เป็นอาหารประเภทยำ ที่นำหนังหมู เนื้อหมูย่างสับมาผสมกับหัวปลี วุ้นเส้น 
แซ หรือ แซ เป็นอาหารประเภทยำที่นำเนื้อสดๆมาปรุงนิยมใช้กับเนื้อวัวและหมู  คล้ายๆลาบแต่มักใส่เลือดสดๆด้วย  กินกับผักสดตามชอบ  คนโบราณนิยมกินเพราะเชื่อว่าเป็นยาชูกำลัง  ปัจจุบันได้รับความนิยมเฉพาะในชนบทที่ห่างไกล
อ่อม  เป็นอาหารประเภทแกงแต่มีน้ำน้อยมีผัก พื้นเมืองหลายชนิดนิยมใช้กับเนื้อ ไก่และปลาหรือเนื้อกบเนื้อเขียดหรือเนื้อสัตว์อื่นๆแต่เน้นที่ปริมาณผัก
อ๋อ  
ลักษณะคล้ายอ่อมแต่ไม่ใส่ผัก(ใส่เพียงต้นหอม ใบมะกรูด ตะไคร้ ใบแมงลัก) นิยมใช้ปลาตัวเล็ก  กุ้ง หรือไข่มดแดงปรุง ใส่น้ำพอให้อาหารสุก
หมก 
เป็นอาหารประเภทหนึ่งที่ใช้ใบตองห่อนิยม ใช้กับเนื้อปลา ไก่ แมลง  กบ เขียด  ผักและหน่อไม้  หมกหรือห่อหมกของภาคอีสานจะไม่ใส่กะทิ
อู๋  คล้ายหมกแต่ไม่ใช้ใบตอง นิยมใช้กับเนื้อปลาโดยเฉพาะปลาตัวเล็กๆ  กับพวกลูกอ๊อดกบ
หม่ำ  
คือ ไส้กรอกเนื้อวัวผสมตับ ตะไคร้และเครื่องเทศอื่นๆ
หม่ำขึ้ปลา 
มีลักษณะคล้ายปลาร้าชนิดหนึ่งรสชาติค่อนข้างเปรี้ยว หมักกับข้าวเหนียว
แจ่ว  
คือ น้ำพริกของชาวอีสานนิยมใส่ปลาร้าสับหรือน้ำปลาร้า  บางครั้งใส่มะกอกพื้นบ้านก็เป็นแจ่วมะกอก รับประทานกับผักสด  ลวก หรือนึ่ง เป็นอาหารที่นิยมรับประทานกันทุกบ้านในภาคอีสาน  เพราะมีขั้นตอนการทำที่ไม่ยุ่งยาก 
ตำซั่ว  
เป็นอาหารประเภทส้มตำชนิดหนึ่ง  แต่ใส่ส่วนประกอบมากกว่า  คือ ใส่ขนมจีน ผักดอง ผัก(เหมือนที่ใส่ขนมจีน) และมะเขือลาย  หรือผักอื่นๆตามต้องการลงไปในตำมะละกอด้วย

ยำไข่มดแดง
หมูน้ำตก

เครื่องจักสานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
ลักษณะภูมิศาตร์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน ทำให้ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพ
ด้านการเกษตรเป็นหลัก จึงจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือเครื่องใช้จากการจักสาน เพราะสามารถนำวัตถุ
ในท้องถิ่นมาผลิตได้ด้วยตนเอง และยังเป็นเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้านที่มีประโยชน์ใช้สอยได้ดี
เครื่องจักสานภาคอีสานส่วนมากทำจากไม้ไผ่ ได้แก่้
เครื่องจักสานพวกภาชนะต่าง ๆ เช่น กระบุง ตะกร้า กระจาด เปลไม้ไผ่
 กระบุง..... ตะกร้า.....  เปลไม้ไผ่
เครื่องมือจับและดักสัตว์น้ำ เช่น ไซ ข้อง สุ่มดักปลา 
 ไซ.....  ข้อง.....  สุ่มดักปลา



 ประเพณีไทยอีสาน
 ประเพณีล้วนได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่
เข้าสู่สังคมรับเอาแบบปฏิบัติที่หลากหลายเข้ามาผสมผสาน
ในการดำเนินชีวิตประเพณีจึงเรียกได้ว่าเป็น วิถีแห่งการ
ดำเนินชีวิตของสังคม โดยเฉพาะศาสนาซึ่งมีอิทธิพลต่อ
ประเพณีไทยมากที่สุด วัดวาอารามต่างๆในประเทศไทย
สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทย
และชี้ให้เห็นว่าชาวไทยให้ความสำคัญในการบำรุง
พุทธศาสนาด้วยศิลปกรรมที่งดงามเพื่อใช้ในพิธีกรรม
ทางศาสนาตั้งแต่โบราณกาล เป็นต้น

           คำว่า ประเพณี ตามพจนานุกรมภาษาไทยฉบับ
บัณฑิตยสถาน ได้กำหนดความหมายประเพณีไว้ว่า
ขนบธรรมเนียมแบบแผน ซึ่งสามารถแยกคำต่างๆ
ออกได้เป็น
           ขนบ มีความหมายว่า ระเบียบแบบอย่าง
          ธรรมเนียม มีความหมายว่า ที่นิยมใช้กันมา และเมื่อ
นำมารวมกันแล้วก็มีความหมายว่า ความประพฤติที่คนส่วนใหญ่
ยึดถือเป็นแบบแผน และได้ทำการปฏิบัติสืบต่อกันมา จนเป็นต้นแบบที่จะให้คนรุ่นต่อๆ
ไปได้ประพฤติปฏิบัติตามกันต่อไป



  บุญบั้งไฟ นิยมทำกันในเดือนหก ถือเป็นประเพณีสำคัญที่จะขาดไม่ได้ เพราะตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ชาวอีสานมีความเชื่อว่า ถ้าปีใดไม่จัดงานบุญบั้งไฟ ฟ้าฝนก็จะไม่ตกต้องตามฤดูกาล เกิดความแห้งแล้ง ไม่มีน้ำทำนา แต่ถ้าปีใดจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ฟ้าฝนก็จะตกต้องตามฤดูกาล เกิดความอุดมสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัย งานบุญบั้งไฟจึงถือเป็นงานประเพณี ประจำปีที่สำคัญของชาวอีสาน พอใกล้ถึงวันงานชาวอีสานไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็จะกลับบ้านไปร่วมงานบุญบั้งไฟ ซึ่งเป็นงานที่สร้างความรักความสามัคคีของคนท้องถิ่นเป็นอย่างดี



ขบวนแห่บั้งไฟ
ประเพณีบุญบั้งไฟ

        ประเพณีบุญข้าวสากการทำบุญข้าวสาก  นิยมทำในวันขึ้น 15 ค่ำ  เดือน 10 เป็นประจำทุกปี  ที่เรียกว่า "บุญข้าวสาก" เนื่องจากเมื่อจัดทำข้าวปลาอาหาร และเครื่องไทยทานต่าง ๆ  อุทิศให้ ผู้ล่วงลับไปแล้ว จะทำสากหรือสลาก มีคำอุทิศส่วนกุศลใส่กระดาษบันทึกชื่อ ผู้มีจิตศรัทธาบริจาค และความประสงค์ว่าจะบริจาคทานให้แก่ผู้ใด โดยบอกชื่อผู้ที่จะ มารับส่วนกุศลด้วย
   
จากศาสนาพุทธแต่อิทธิพลจากศาสนาอื่นเช่น ศาสนาพราหมณ์
และการอพยพของชาวต่างชาติเช่นคนจีนก็มีอิทธิพล
ข้าวสาก
ข้าวสาก
พิธีทำบุญข้าวสาก
ทำพิธีข้าวสาก
ของประเพณี           



ที่มา