วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ภูมิปัญญาไทยภาคกลาง กลุ่มสตอเบอรี่พิ้ง

ภูมิปัญญาไทยภาคกลาง

                 มี วัฒนธรรมข้าว     เรือนไทย    เรือนแพ(ชาวแพ)   เครื่องมือจับสัตว์น้ำ  
มวยไทย  นวดแผนไทย   สมุนไพรไทย    เพลงพื้นบ้านภาคกลาง  ว่าวไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคกลาง  
มีการนวดสมุนไพร(พระครูสมัย)       การเลี้ยงจระเข้(นายอุทัย ยังประภากร)   การต่อเรือยาว      
การปั้นตุ๊กตาชาววัง
(สมใจ)  หมอยาไทย หมอยาจีน      ทะแยมอญ  งานกระดาษ  พุทธธรรม(พระธรรมปิฏก


     การอพยพย้ายแหล่งที่อยู่อาศัยทำกินในภาคกลางนั้น เป็นบริเวรที่มีการพัฒนาการ

ในการปรับตัวเพื่อการดำรงอยู่ร่วมกันของกลุ่มคนหลายเผ่าพันธ์ ได้แก่ คนไทย ลาว มอญ จีน เขมร เป็นต้น 
ซึ่งต่างมีสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติเป็นพื้นฐานในการอยู่อาศัยทำกินแล้ว ยังต้องรับกระแสภายนอก
จากขนบประเพณีที่ต่างวัฒนธรรมจนทำให้มีความหลากหลายและคล้ายคลึงกันให้สามารถร่วมประกอบอาชีพ
และร่วมประเพณีอยู่ด้วยกันได้
                ด้วยเหตุที่ภูมิประเทศส่วนมากเป็นลุ่มแม่น้ำ การตั้งชุมชนหรือเมืองในที่ราบลุ่มใกล้แม่น้ำลำคลอง
ที่ใช้เป็นเส้นทางคมนาคมนั้น ทำให้มีการสร้างชุมชนหรือเมืองโดยเอาแม่น้ำตามธรรมชาติเป็นคูเมือง
หรือขุดคูเมืองขึ้นเพื่อเป็นเส้นทางน้ำต่อเชื่อมกับแม่น้ำลำคลองตามธรรมชาติ
ถือเป็นการปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ชุมชนเมืองโบราณจึงมีลักษณะเป็น
เมืองคูคลอง
(Cannal City) ส่วนดินที่ขุดคูเมืองนั้นจะนำไปพูนล้อมรอบบริเวณชุมชนเมืองนั้น
เหมือนแนวกำแพงเมืองเพื่อป้องกันศัตรูด้วย
               คูเมืองชุมชนโบราณและแม่น้ำลำคลองตามธรรมชาตินี้สามารถต่อเชื่อมทางน้ำให้สามารถ,
เดินทางต่อไปยังชุมชนอื่นได้  เมืองโบราณบางแห่งให้เส้นทางน้ำผ่านไปกลางเมืองเช่น
เมืองนครไชยศรี เมืองพิษณุโลก   เมืองชัยนาท   ซึ่งยังนิยมที่จะสืบทอดให้มีแม่น้ำล้อมรอบ
ตามแบบเดิมต่อมาอีกในการสร้าง กรุงศรีอยุธยา   กรุงธนบุรีและกรุงเทพ
              การตั้งชุมชนเมืองสมัยโบราณนั้นนิยมอาศัยลำน้ำเป็นหลักแล้ว ยังนิยมที่จะอาศัยลำน้ำนั้น
ตั้งบ้านเรือนตามแนวยาวของแม่น้ำลำคลองด้วย  โดยการสร้างเรือนแพตามริมแม่น้ำทั้งสองฝั่ง 
นอกเหนือจากการสร้างเรือนใต้ถุนสูงให้น้ำลอดได้แล้ว ยังใช้เรือนแพเป็นการปรับตัวให้สามารถช่วย
ในการจอดเรือและใช้น้ำในการอุปโภคบริโภคได้   แล้วยังทำอาชีพจับสัตว์น้ำไปด้วย 
ประการสำคัญคือสามารถอาศัยอยู่ได้ในฤดูน้ำหลากท่วมแผ่นดิน
               จังหวัดที่มีเรือนแพริมแม่น้ำนั้นได้แก่ สุพรรณบุรี อุทัยธานี ชัยนาท  นครสวรรค์ 
ราชบุรี เพชรบุรี  เป็นต้น ปัจจุบันเรือนแพนั้นมีเหลืออยู่ไม่กี่แห่ง
               ประการสำคัญนั้นคือบริเวณภาคกลางที่เป็นใจกลางประเทศแห่งนี้ 
ภูมิประเทศมีลักษณะเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ
(RICE BOWL OF ASIA) คือเป็นบริเวณที่ราบลุ่มที่เกิดจาก
แม่น้ำสำคัญสายใหญ่คือแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำป่าสัก เป็นต้น
จึงทำให้พื้นที่ภาคกลางเป็นแหล่งที่มีน้ำสำหรับช่วยในการเพาะปลูกข้าว และพืชอื่นๆ
ดังนั้นแหล่งที่อยู่ทำกินของคนภาคกลางจึงมีการปรับตัวให้สอดคล้องกับอาชีพหลักคือ
การทำนาปลูกข้าว การจับสัตว์น้ำในแม่น้ำลำคลอง
                  พื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำที่กว้างใหญ่ไพศาลในบริเวณภาคกลางนั้น จึงเป็นพื้นที่ทำนาในที่ราบลุ่ม
ซึ่งมีวิธีการทำนาในรูปแบบการทำนาดำและนาหว่าน  การทำนานั้นเป็นการปลุกข้าวโดยวิธีขังน้ำ
ในคันดินเพื่อเลี้ยงต้นข้าวให้เติบโต  ดังนั้นพื้นที่ในที่ราบลุ่มแห่งนี้จึงเป็นดินตะกอนที่ถูกน้ำพัดพา
มาทับถมในฤดูน้ำหลาก โดยที่น้ำในแม่น้ำ  ลำคลองได้พัดพานำเอาปุ๋ยธรรมชาติไหลลงมาจาก
ทางเหนือ ทำให้พื้นดินแห่งนี้อุดมสมบูรณ์สำหรับการเพาะปลูกและการทำนาอย่างยิ่ง
                 เนื่องจากพื้นที่ราบภาคกลางเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่เหมาะสมต่อการทำนาปลูกข้าว
ดังนั้นการทำนาโดยการหาพันธ์ข้าวให้เหมาะสมจึงเป็นคุณสมบัติสำคัญของชาวนาภาคกลาง
ที่ได้มีการปรับตัวด้วยปัญญาของตนมาช้านาน  พันธ์ข้าวนั้นได้มีการคัดเลือกให้เหมาะสม
สำหรับการทำนา  จึงมีความหลากหลายในการทำนาและการแสวงหาพันธ์ข้าวปลูก 
ซึ่งมีชื่อพันธ์ข้าวทั้งที่เป็นข้าวเจ้าและข้าวเหนียวมากมายตามพื้นที่และลักษณะของข้าว 
นอกจากนี้ยังพันธ์ข้าวไร่ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกในที่บนดอนที่มีน้ำน้อยอีกด้วย
                
พันธ์ข้าวที่นิยมใช้ในการทำนาในภาคกลางนั้น คือ 
                ข้าวนาสวน เป็นพันธ์ข้าวที่ต้องการน้ำหล่อเลี้ยงให้เจริญเติบโต
มีความทนต่อความลึกของน้ำได้ไม่เกิน ๑ เมตร  ข้าวชนิดนี้จึงเหมาะกับจังหวัดที่มีพื้นที่แหล่งน้ำ
และใช้วิธีวิดน้ำขังในคันนา จึงใช้วิธีปักดำ  แม้ยามที่มีน้ำในหน้าน้ำมากข้าวนี้ก็สามารถทนอยู่ได้
ในระยะหนึ่งจนน้ำลดลง
               ข้าวนาเมือง เป็นพันธ์ข้าวที่มีคุณสมบัติพิเศษคือลำต้นที่สามารถทอดยาวออกไป
และออกรากที่ข้อตามปล้องข้าวได้  ข้าวพันธ์นี้เจริญเติบโตเร็วกว่าข้าวนาสวน  
จึงเหมาะสมสำหรับการปลูกในที่น้ำท่วม ที่มีฝนตกชุก และบริเวณที่มีน้ำท่วมสูงอย่างรวดเร็ว 
ด้วยลักษณะพิเศษของข้าวนาเมืองนี้  ชาวบ้านจึงเรียกข้าวพันธ์ว่า ข้าวน้ำขึ้น   
ข้าวลอยหรือข้าวฟางลอย
               ดังนั้นจังหวัดที่มีน้ำท่วมขังมากจึงนิยมใช้ข้าวนาเมืองทำนาโดยวิธีหว่านข้าวลงในนา 
ได้แก่จังหวัดสุพรรณบุรี อ่างทอง ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น

ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคกลาง

UploadImage


              สังคมไทยในอดีตเป็นสังคมเกษตรกรรม ที่ผู้คนสามารถผลิตปัจจัยในการดำรงชีวิตได้เองเป็นส่วนใหญ่ 
ไม่ว่าจะเป็นอาหารการกินหรือเครื่องไม้เครื่องมือ ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพหรือ คติความเชื่อในการดำรงชีวิตประจำวันก็ตาม   งานจักสานหรือเครื่องจักสานเป็นงานหัตถกรรมและศิลปแห่งภูมิปัญญาของชาวบ้าน ที่เกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตของคนไทยมาช้านาน 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิถีชีวิตของชาวชนบทในสังคม เกษตรกรรม  เพราะเครื่องจักสานเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำได้ไม่ยาก  และมักใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นมาทำเป็นเครื่องจักสานใช้เป็นภาชนะ ใช้ในครัวเรือน  ทำเป็นเครื่องมือประกอบอาชีพ  และทำเป็นเครื่องเล่นเครื่องแขวนเครื่องประดับในบ้านเรือนได้อีก ด้วย                
งานจักสานเป็นงานหัตถกรรมที่เกิดจากภูมิปัญญาที่ชาวบ้านทำขึ้นเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันมาแต่โบราณกาล 
แม้ในปัจจุบันนี้  งานจักสานหรือเครื่องจักสานก็ยังคงมีการทำกันอยู่โดยทั่วไปในทุกภูมิภาคของ ประเทศ  หรืออาจจะพูดได้ว่าเครื่องจักสานในเมืองไทยนั้นมีทำมีใช้กันในทุกแห่งหนตำบล ก็เห็นจะได้เช่นกัน นอกเหนือจากประโยชน์ใช้สอยแล้ว  งานจักสานยังสะท้อนถึงวัฒนธรรมภูมิปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ของชาวบ้านได้ เป็นอย่างดี      
จากหลักฐานทางโบราณคดีในประเทศไทย  ทำให้เชื่อได้ว่ามนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เคยอาศัยอยู่บริเวณประเทศไทย
สามารถทำเครื่องจักสานมาตั้งแต่ยุคหินกลางเมื่อหลายหมื่นปีมาแล้ว  แต่หลักฐานที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งที่แสดงว่า 
มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์เคยอาศัยอยู่ในประเทศไทยที่บริเวณบ้านเชียง  อำเภอหนองหาน  จังหวัดอุดรธานี 
เมื่อประมาณ 4,000 ปีมาแล้วได้แก่  ภาชนะดินเผาชิ้นหนึ่ง  รูปร่างคล้ายชามหรืออ่างเล็กๆผิวด้านนอกมีรอยของลายจักสานโดยรอบ 
แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ในอดีตรู้จักการทำภาชนะจักสาน แน่นอน แต่ที่ไม่สามารถหาหลักฐานของเครื่องจักสานโดยตรงได้นั้น  เพราะงานจักสานส่วนใหญ่ทำมาจากวัตถุดิบที่เป็นไม้ที่มีอายุขัยเฉลี่ยน้อยผุ ผังย่อยสลายได้ง่ายจึงยากที่จะมีอายุยืนยาวอยู่ได้นานๆ
หลายพันหลายหมื่นปีเช่นภาชนะที่ทำจากดิน  หินหรือโลหะอื่นๆ      
สำหรับงานจักสานนั้นเป็นหัตถกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยมาแต่โบราณ 
โดยเฉพาะเครื่องจักสานจากไม้ไผ่ ที่มีวิถีเกี่ยวข้องกับชีวิตคนไทยนับตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตายเลยที่เดียว 
โดยเริ่มตั้งแต่เกิด  คนไทยในชนบทสมัยโบราณจะต้องทำพิธี “ตกฟาก” ให้กับเด็กที่เกิดใหม่ทุกคน คือ 
เมื่อเด็กออกจากครรภ์มารดาจะตกใส่พื้นบ้านที่เรียก ว่า “ฟาก”  ซึ่งทำด้วยไม้ไผ่สับให้แตกแล้วแผ่เรียงกันออกเป็นพื้นเรือนเครื่องผูกหรือ เรือนไม้ไผ่  ดังนั้นเมื้อทารกแรกเกิดมาแล้วตกลงบนฟากหรือพื้นไม้ไผ่คนโบราณจึงเรียกเวลา ที่เด็กเกิดว่า “ตกฟาก” นั่นเอง  แม้ในปัจจุบันพื้นบ้านส่วนใหญ่ในเมืองหรือแม้แต่ในชนบทที่เจริญแล้วจะไม่มี พื้นบ้านที่ทำจากไม้ไผ่หรือฟากแล้ว 
ก็ยังคงเรียกเวลาที่เด็กเกิดกันว่า “ตกฟาก” อยู่เช่นเคย      หลังจากคลอดแล้ว  “หมอตำแย” จะทำพิธี “ร่อนกระด้ง” 
คือหลังจากอาบน้ำทำความสะอาดให้เด็กแรกเกิดที่ผ่านการ “ตัดสายสะดือ”ด้วยการใช้ “ริ้วไม้ไผ่”
ที่ใช้แทนมีดที่เป็นโลหะเพราะอาจทำให้เด็กเกิด บาดทะยักจากการใช้มีดโลหะได้  ภูมิปัญญาชาวบ้านในสมัยโบราณจึงนิยมใช้ “ริ้วไม้ไผ่”ที่มีความคมเช่นเดียวกับมีดโลหะมาตัดสายสะดือให้เด็กแรกเกิดแทน นั่นเอง 
หมอตำแยจะอุ้มเด็กนอนลงบนหลังกระด้งที่มีลักษณะนูนและนุ่มยืดหยุ่นได้ดี 
จากนั้นหมอตำแยจะยกกระด้งขึ้นพอเป็นพิธีแล้ววางกระแทกลงเบาๆให้เด็กตกใจแล้วร้องไห้ 
ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของคนสมัยโบราณที่ทำเพื่อให้เด็ก เกิดความ คุ้นเคยกับการอุ้มของพ่อแม่เด็กนั่นเอง   นอกจากการวางเด็กลงบนกระด้งแล้วคนโบราณยังนำเอาแหที่ใช้ในการหาปลามาโยงคลุม กระด้งที่เด็กนอนอยู่อีกด้วย 
แต่โดยภูมิปัญญาดังกล่าวแล้ว คนในสมัยโบราณต้องการให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้สายตามองดูสิ่งที่สามารถมอง เห็นได้ใกล้ๆตัวมากกว่า  โดยมีความเชื่อว่าร่างแหจะป้องกันภูตผีปีศาษไม่ให้เข้ามาทำร้ายเด็กเกิดใหม่ ได้

UploadImage
ที่มา.http://www.nattakarnlks.ob.tc/wisdom16.html

 
เรื่องของภูมิปัญญาท้องถิ่นวันนี้ขอนำเสนอเรื่องของภูมิปัญญาไทยกับปัจจัยทั้งสี่เพื่อให้ประชาชนคนไทยอย่างเราๆ นั้นได้รู้เอาไว้ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ดังต่อไปนี้
ลำดับที่ 1. ภูมิปัญญาไทยทางด้านของอาหารเครื่องดื่ม หรือ อาหาร
ลำดับที่ 2. ภูมิปัญญาไทยทางด้านการแต่งกายของคนไทย หรือ เครื่องนุ่งห่ม
ลำดับที่ 3. ภูมิปัญญาไทยทางด้านที่อยู่อาศัย หรือ ที่อยู่อาศัย
ลำดับที่ 4. ภูมิปัญญาไทยทางด้านสุขภาพอนามัย หรือ ยารักษาโรค
ภูมิปัญญาไทยทางด้านของอาหารเครื่องดื่ม หรือ อาหาร
สำหรับสังคมไทยนั้นมีความอุดมสมบรูณ์ โดยที่บรรพบุรุษนั้นได้มีการจัดรูปแบบของอาหารได้อย่างเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศและสภาพของสังคมไทยในแต่ละภาคเอาไว้เป็นอย่างดี โดยที่มีสรรพคุณที่ช่วยให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายนั้นสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังสามารถทำให้ร่างกายแข็งแรง เพื่อห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บได้เป็นอย่างดี ซึ่งมีตัวอย่าง ดังต่อไปนี้
ภาคกลาง
สำหรับอาหารของงภาคกลาง อย่างเช่น น้ำพริกปลาทู แกงเลียง ต้มโคล้ง ต้มส้ม และอาหารประเภทอื่นๆ
ผลไม้
สำหรับผลไม้ของไทยนั้นจะมีตลอดทั้งปี สามารถทานได้ทุกฤดูกาลเลยก็ว่าได้แล้วก็ยังมีราคาที่ถูกมากอีกด้วยค่ะ
สมุนไพร
ในเรื่องของสมุนไพรของไทยนั้น หลายหลากชนิดที่สามารถนำมาทำเป็นเครื่องดื่มเพื่อคลายกระหายได้ อย่างเช่น ใบเตย ตะไคร้ มะตูม กระเจี๊ยบ ขิง ดอกคำฝอย และอื่นๆ โดยที่แต่ละชนิดจะสามารถให้สรรพคุณที่มีความแตกต่างกันไป อย่างเช่น
- น้ำขิง จะสามารถช่วยขับลม
- น้ำกระเจี๊ยบ  สามารถช่วยขับปัสสาวะได้เป็นอย่างดี
- น้ำมะตูม สามารถทำให้เจริญอาหาร และสามารถบำรุงธาตุได้เป็นอย่างดีอีกด้วยค่ะ
แล้วในปัจจุบันนี้ก็ยังมีผู้ที่นิยมดื่มน้ำสมุนไพรกันมากขึ้น โดยที่เป็นการทำให้สุขภาพดี และมียังมีราคาถูก อีกด้วยค่ะ
ขอขอบคุณบทความดีดีจาก  historyland.exteen.com


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น